วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของโครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี

ความเป็นมาของโครงการ

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการห้วยโสมง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2521 ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการชลประทานประเภทอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำห้วยพระ ปรงและลุ่มน้ำห้วยโสมงซึ่งเป็นลำน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรี โดยรวมแล้วทรงมีพระราชดำรัสรับสั่งเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี ตามพระราชดำริ รวม 6 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการดำเนินการในโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544  ความตอนหนึ่งว่า

“…โครงการ พัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี-จังหวัดสระแก้ว ตามพระราชดำริ เช่น โครงการอ่างเก็บน้ำพระปรง อ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก และอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ เป็นโครงการที่ดีมากทำให้มีปริมาณน้ำใช้เพิ่มมากขึ้นและผลที่ได้รับเพิ่ม เติมก็คือทำให้ที่ดินมีการพัฒนาตามมาด้วย…”

              ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2532 มีมติเห็นชอบในหลักการของการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำบางปะกงตอนบนและสาขา  ซึ่งโครงการห้วยโสมงเป็นส่วนหนึ่งในลุ่มน้ำบางปะกงที่ได้รับการพิจารณาว่ามี ศักยภาพ กรมชลประทานจึงได้ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมและผล กระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538 และได้จัดส่งรายงานดังกล่าวให้แก่สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (ปัจจุบันคือ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.))  พิจารณาตามขั้นตอนของโครงการชลประทานขนาดใหญ่ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติส่ง เสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535   ต่อมาสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แจ้งให้กรมชล ประทานทราบว่า โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงเป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนิน การศึกษาออกแบบและก่อสร้างแล้ว จึงขอเสนอแนะข้อคิดเห็นให้กรมชล-ประทานดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรายงานการ ศึกษาให้ชัดเจน เพื่อนำมากำหนดมาตรการและแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ต่อไป หลังจากนั้นกรมชลประทานได้ปรับปรุงแก้ไขและจัดส่งรายงานแผน ปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบ ให้แก่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหนังสือที่ กษ 0326/6611  ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546

            จากนั้นกรมชลประทานได้เสนอเรื่องถึงกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อขอใช้พื้นที่ดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบางส่วนที่ตั้งอยู่ ตามแนวขอบเขตรอยต่อของอุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติปางสีดา  คิดเป็นพื้นที่รวม 2,728.03 ไร่   และคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติเห็นชอบในหลักการให้เพิกถอนพื้นที่ดัง กล่าวเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2548   ขณะเดียวกันพื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่  ซึ่งประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-ปางสีดา-ทับลาน-ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดก โลกทางธรรมชาติเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 จึงได้มีการปรึกษาหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีความคิดเห็นตรงกันว่า “สมควรให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)  ของโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง (ใหม่) เพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป” ดังนั้นกรมชลประทานจึงได้ดำเนินการว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ดำเนิน การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จังหวัดปราจีนบุรี  

ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน

              ขณะนี้ผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จ.ปราจีนบุรี ได้ดำเนินการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ส่งมอบผลการศึกษาฯ ให้แก่กรมชลประทานเรียบร้อยแล้วกรมชลประทานได้ส่งผลการศึกษาให้สำนักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลการพิจารณาของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม  และเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 กรมชลประทานได้ส่งรายงานผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ให้กับคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อพิจารณา  ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลการพิจารณาเช่นเดียวกัน  สำหรับความพร้อมในการดำเนินโครงการนี้  ได้ดำเนินการออกแบบเขื่อนเก็บกักน้ำและอาคารประกอบ และระบบส่งน้ำเสร็จตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544  มูลค่าการก่อสร้างโครงการฯ เมื่อรวมค่าป้องกันแก้ไขและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ้น 6,036.52 ล้านบาท

ปัญหาอุปสรรค

          (1) พื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง  โดยส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าเพื่อการอนุรักษ์ (C) ประมาณ 4,596.00 ไร่  และเขตป่าเศรษฐกิจ (E) ประมาณ 9,623.97 ไร่  ของป่าสงวนแห่งชาติป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน รวมทั้งมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำบางส่วน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน (1,655.46 ไร่) และอุทยานแห่งชาติปางสีดา (1,072.5 ไร่) รวมทั้งหมดประมาณ 16,948 ไร่ โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติปางสีดา จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดก โลก

         (2) พื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง  โดยบางส่วนครอบคลุมพื้นที่ 3 หมู่บ้านในตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านวังอ้ายป่อง หมู่ที่ 8 บ้านแก่งยาว และหมู่ที่ 12 บ้านแก่งใหญ่  โดยมีบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่คาดว่าจะถูกน้ำท่วมของผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 604 ครัวเรือน  จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับราษฎรเป็นค่าสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้น 1,092.96 ล้านบาท และค่าจัดสรรที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ 4 แปลงรวม 28.350 ล้านบาท

****************
ลุงยักษ์  เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น