โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง มีที่ตั้งหัวงานในเขตบ้านแก่งยาว ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ณ เส้นละติจูด 140- 04-49 องศาเหนือ และเส้นลองติจูด 102-01-49 องศา ตะวันออกหรือพิกัดตามระบบ UTM 48 PSA 793-584 ตามแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ระวาง 5437 III (ดูรูปที่2.1-1 ประกอบ) มีขอบเขตพื้นที่หัวงานโครงการฯและพื้นที่อ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขต ตำบลแก่งดินสอส่วนพื้นที่ชลประทานอยู่ในเขตตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี ตำบลเมืองเก่า ตำบลบ่อทองและตำบลบ้านนา
อำเภอกบินทร์บุรี ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 111,300 ไร่
ลักษณะโครงการ
จากการทบทวนรายงานการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จังหวัดปราจีนบุรี ของกรมชลประทาน (พฤษภาคม พ.ศ.2538)และรายงานการทบทวนด้านอุทกวิทยาในขั้นการออกแบบรายละเอียด ของกรมชลประทาน (พ.ศ.2544) พบว่าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ประกอบด้วยงานเขื่อนเก็บกักน้ำและ
อาคารประกอบ งานระบบชลประทาน งานระบบระบายน้ำ และงานจัดสรรที่รองรับอพยพจากเขตอ่างเก็บน้ำ ดังสามารถสรุปองค์ประกอบและลักษณะโครงการดังนี้
1) สภาพทางอุตุ-อุทกวิทยา
- พื้นที่ลุ่มน้ำเหนือที่ตั้งเขื่อนเก็บกักน้ำ 443.00 ตร.กม.
- ความยาวลำน้ำสายหลักจากต้นน้ำ 32.00 กิโลเมตร
- ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำรายปีเฉลี่ย 266.00 ล้าน ลบ.ม.
2) ลักษณะอ่างเก็บน้ำ
- ระดับเก็บกักน้ำต่ำสุด +32.200 เมตร (รทก.)
- ระดับเก็บกักน้ำปกติ +48.000 เมตร (รทก.)
- ระดับน้ำสูงสุด +49.400 เมตร (รทก.)
- ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกักต่ำสุด +19.500 ล้าน ลบ.ม.
- ความจุอ่างน้ำที่ระดับเก็บกักปกติ 295.00 ล้าน ลบ.ม.
- ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด 340.00 ล้าน ลบ.ม.
- ปริมาณตะกอนสะสมในอ่างเก็บน้ำ (รอบ 500 ปี) 18.15 ล้าน ลบ.ม.
- พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกักต่ำสุดประมาณ (6.00 ตร.กม.) 3,750 ไร่
- พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกักปกติประมาณ (26.00 ตร.กม.) 16,250 ไร่
- พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับน้ำสูงสุดประมาณ (27.12 ตร.กม.) 6,948 ไร่
3) อาคารหัวงาน
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง มีอาคารหัวงานเป็นเขื่อนดินแบบแบ่งโซน (Zone type dam) ประกอบด้วย ลักษณะงานส่วนสำคัญดังนี้
- ระดับสันเขื่อน +53.000 เมตร (รทก.)
- ความกว้างสันเขื่อนดิน 9.00 เมตร
- ความยาวสันเขื่อนดิน 3,967.51 เมตร
- ความสูงเขื่อนจากท้องน้ำประมาณ 32.75 เมตร
- ลาดเขื่อนดิน
ด้านเหนือน้ำ 1:3
ด้านท้ายน้ำ 1:2.5
- ส่วนกว้างที่สุดของฐานเขื่อนประมาณ 207.00 เมตร
- ปริมาตรตัวเขื่อน 7,200,000 ลบ.ม.
4) อาคารประกอบหัวงาน
อาคารระบายน้ำล้น มีที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของเขื่อนหลัก
ก) ชนิดบานระบายโค้งขนาด 7.00 x 6.00 เมตร รัศมี 8.00 เมตร จำนวน 3 บาน
ข) ระดับสันธรณีประตู +42.980 เมตร (รทก.)
ค) ระดับเก็บกักน้ำปกติ (ร.น.ก.) +48.00 เมตร (รทก.)
ง) ระดับสูงสุด (ร.น.ส.)+49.400 เมตร (รทก.)
จ) ระดับสันตอม่อ +53.000 เมตร (รทก.)
ฉ) สามารถระบายน้ำผ่านสูงสุด 630.57 ลบ.ม./วินาที ที่ระดับน้ำสูงสุด +49.400 เมตร
(รทก.) (Return period ของน้ำหลากรอบปีการเกิดซ้ำ 1,000 ปี)
5) พื้นที่ชลประทาน
5.1 พื้นที่ชลประทานฝั่งซ้ายจำนวน 94,800 ไร่
5.2 พื้นที่ชลประทานฝั่งขวาจำนวน 16,500 ไร่
6) ระบบชลประทาน
6.1 ความยาวของคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย 34.25 กม.
6.2 ความยาวของคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา 11.00 กม.
6.3 ความยาวของคลองซอยฝั่งซ้าย (54 สาย) 178.81 กม.
6.4 ความยาวของคลองซอยฝั่งขวา (17 สาย) 35.27 กม.
7) งบประมาณ
งบประมาณโครงการทั้งสิ้น 6,036.520 ล้านบาท
***************
ลุงยักษ์ เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น