วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไบโอชาร์ (Biochar)

ยุทธศาสตร์ทำหนึ่งได้สาม : ไบโอชาร์เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ดิน
ลดโลกร้อนและลดความยากจน
One for three strategy : Biochar for increasing soil fertility,
reducing global warming and poverty

  *************

ไบโอชาร์
(Biochar) 
ไบโอชาร์ (Biochar) คืออะไร
     ไบโอชาร์ (Biochar) หรือเรียกในภาษาไทยว่าไบโอชาร์ คือ วัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากการให้ความร้อนมวลชีวภาพ (biomass) โดยไม่ใช้ออกซิเจนหรือใช้น้อยมาก เรียกกระบวนการนี้ว่าการแยกสลายด้วยความร้อน (pyrolysis) ซึ่งมีสองวิธีหลักๆคือการแยกสลายอย่างเร็วและอย่างช้า การผลิตไบโอชาร์ด้วยวิธีการแยกสลายอย่างช้าที่อุณหภูมิเฉลี่ย 500 องศาเซลเซียส จะได้ผลผลิตของไบโอชาร์มากกว่า 50% แต่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งต่างจากวิธีการแยกสลายอย่างเร็วที่อุณหภูมิเฉลี่ย 700 องศาเซลเซียส  ซึ่งใช้เวลาเป็นวินาที ผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ำมันชีวภาพ (bio-oil) 60%  แก๊สสังเคราะห์ (syngas)  ได้แก่ H2, CO และ CH4  รวมกัน 20% และ ไบโอชาร์ 20% (Winsley, 2007; Zafar,2009)   Biochar มีความหมายแตกต่างจาก Charcoal (ถ่านทั่วไป) ตรง จุดมุ่งหมายของการใช้ประโยชน์ คือเมื่อกล่าวถึง Charcoal จะหมายถึงถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง  ขณะที่ Biochar คือถ่านที่ใช้ประโยชน์เพื่อกักเก็บคาร์บอนลงดินและปรับปรุงดิน (Ricks,2007)  การกักเก็บคาร์บอนในดินด้วยการแยกสลายมวลชีวภาพด้วยความร้อนจะได้คาร์บอนถึง  50% ของคาร์บอนที่มีอยู่ในมวลชีวภาพ คาร์บอนที่ได้จากการเผามวลชีวภาพจะเหลือเพียง 3% และจากการย่อยสลายโดยธรรมชาติหลังจาก 5-10 ปี จะได้คาร์บอนน้อยกว่า 20%  ปริมาณของคาร์บอนที่ได้จะขึ้นกับชนิดของมวลชีวภาพ  สำหรับอุณหภูมิจะมีผลน้อยมากถ้าอยู่ระหว่าง 350-500 องศาเซลเซียส (Lehmann et al.,2006)

ประโยชน์ของไบโอชาร์   สามารถสรุปได้ 4 ประการหลักดังนี้
  1. ช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เนื่องจากไบโอชาร์สามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในระยะยาวได้ด้วยการกักเก็บคาร์บอนในดิน
  2. ช่วยปรับปรุงดินและผลผลิตทางการเกษตร  เนื่องจากเมื่อนำไบโอชาร์ลงดิน  ลักษณะความเป็นรูพรุนของ         ไบโอชาร์จะช่วยกักเก็บน้ำและอาหารในดิน และเป็นที่อยู่ให้กับจุลินทรีย์สำหรับทำกิจกรรมเพื่อสร้างอาหารให้ดิน เมื่อดินอุดมสมบูรณ์จะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
  3. ช่วย ผลิตพลังงานทดแทน เนื่องจากกระบวนการผลิตไบโอชาร์จากมวลชีวภาพด้วยการแยกสลายด้วยความร้อนจะ ให้พลังงานชีวภาพที่สามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อการขนส่งและในระบบ อุตสาหกรรมได้
  4. ช่วย ในกระบวนการจัดการของเสียประเภทอินทรีย์วัตถุได้  เนื่องจากเทคโนโลยีไบโอชาร์มีศักยภาพในการกำจัดของเสียที่ทำให้สิ่งแวดล้อม เป็นมิตรได้
ยุทธศาสตร์ทำหนึ่งได้สาม ไบโอชาร์เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน ลดภาวะโลกร้อน และลดความยากจน
        ยุทธศาสตร์หมายถึงแผนพัฒนาที่แสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบของแผนและกลไกในการขับเคลื่อนให้การปฏิบัติตามแผนสามารถ บรรลุเป้าหมายได้  การวิจัยนี้ได้พัฒนายุทธศาสตร์ทำหนึ่งได้สามฯในรูปของวงจรย้อนกลับระหว่าง องค์ประกอบของระบบจัดการทรัพยากรแบบยั่งยืนหรือเรียกอีกอย่างว่าสมมติฐาน พลวัตระบบจัดการทรัพยากรแบบยั่งยืน  ดังต่อไปนี้

สมมติฐานพลวัตระบบจัดการทรัพยากรแบบยั่งยืน


ไบโอชาร์ การปรับปรุงดิน ภาวะโลกร้อน และความยากจน

   จาก การตรวจเอกสารด้านเทคโนโลยีไบโอชาร์และที่เกี่ยวข้อง สามารถสังเคราะห์และสรุปในรูปของสมมติฐานพลวัตของระบบการจัดการทรัพยากรแบบ ยั่งยืน ดังรูปที่ 1 ซึ่งเป็นระบบที่ประกอบด้วยทั้งวงจรย้อนกลับเชิงลบซึ่งต่อไปขอเรียกสั้นๆว่า วงจรลบ และวงจรย้อนกลับเชิงบวกซึ่งต่อไปขอเรียกว่าวงจรบวก  วงจรลบมี 2 วงจรคือวงจร 1 และ วงจร 2  ส่วนวงจรที่เหลือเป็นวงจรบวก  วงจร 1 เป็นวงจรสมดุลระหว่างพืชกับ CO2 ระบบนี้เป็นระบบที่พยายามรักษาความสมดุลโดยธรรมชาติ (อรสา, 2549) คือเมื่อมี  CO2 เพิ่มขึ้น จะทำให้พืชเติบโตและมีปริมาณเพิ่มขึ้นเพราะพืชใช้ CO2 ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร  และเมื่อพืชมีปริมาณเพิ่มขึ้นก็จะช่วยดูดซับ CO2 เพิ่มขึ้น ทำให้ CO2 ในชั้นบรรยากาศมีปริมาณลดลง  อย่างไรก็ดี วงจร 3 (CO2-พืช-เศษวัสดุจากพืช-การย่อยสลายโดยธรรมชาติ) และวงจร 4 (CO2-พืช-เศษวัสดุจากพืช-เผา) เป็นวงจรบวกซึ่งมีการทำงานแล้วส่งผลให้  CO2 เพิ่มขึ้น  ทำให้วงจร 1 ไม่สามารถรักษาระดับความสมดุลได้ กล่าวคือเมื่อปริมาณพืชเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณเศษวัสดุจากพืชเพิ่มขึ้นด้วย   ทำให้เกิดการย่อยสลายโดยธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้เกิด CO2 มากขึ้น (วงจร 3) ในระบบการเกษตรจะมีการเผาเศษวัสดุเหล่านี้ก่อนทำการเกษตรแต่ละครั้ง  ส่งผลให้ปริมาณ CO2 เพิ่มขึ้น  (วงจร 4)    วงจร 2 (CO2-พืช-เศษวัสดุจากพืช-การแยกสลายด้วยความร้อน-ไบโอชาร์-carbon sink)  เป็นวงจรลบที่ช่วยให้ CO2 ลดลงด้วยการตัดวงจรการเผาเศษวัสดุจากพืชและการย่อยสลายโดยธรรมชาติ มาสู่การนำเศษวัสดุดังกล่าวมาแยกสลายด้วยความร้อน (pyrolysis) จะได้ไบโอชาร์  ซึ่งไบโอชาร์จะดึงคาร์บอนจากเศษวัสดุพืชมาเก็บไว้  เมื่อนำไบโอชาร์ไปใส่ในดิน จะเป็นการกักเก็บคาร์บอนในดิน (carbon sink) ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าคาร์บอนนี้มีคุณสมบัติเสถียร ไม่ทำปฏิกิริยากับสารใดๆ และสามารถอยู่ในสภาพเดิมได้เป็นเวลายาวนานนับ 1000 ปี (IBI,2008) ส่งผลให้  CO2 ในชั้นบรรยากาศลดลง เทคโนโลยีไบโอชาร์จึงได้ชื่อว่าเป็น Carbon negative technology ฉะนั้นถ้าต้องการแก้ปัญหาด้วยการลด CO2 จะต้องทำให้วงจรลบ 1 และวงจรลบ 2 ทำงานเด่นกว่าวงจรบวก 3 และวงจรบวก 4    ไบโอชาร์ช่วยเพิ่มสารอาหารในดินและช่วยลดกรดในดิน เนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพของไบโอชาร์มีลักษณะเป็นโพรง เมื่อใส่ไบโอชาร์ลงดิน จึงสามารถกักเก็บน้ำทำให้ดินมีความชุ่มชื้น และเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนจุลินทรีย์ซึ่งช่วยสร้างอาหารในดิน ทำให้ผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้น (Sohi et al.,2009;Biocharinfo,2009a;Wikipedia,2009)   วงจร 5 (พืช-เศษวัสดุจากพืช-การแยกสลายด้วยความร้อน-ไบโอชาร์-pHในดิน) และวงจร 6 (พืช-เศษวัสดุจากพืช-การแยก สลายด้วยความร้อน-ไบโอชาร์-สารอาหารในดิน) จึงเป็นวงจรบวกที่ทำหน้าที่ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น  การแยก สลายเศษวัสดุจากพืชด้วยความร้อน ไม่เพียงแต่จะได้ไบโอชาร์ ยังได้พลังงานชีวภาพซึ่งสามารถนำบางส่วนกลับไปเป็นเชื้อเพลิงในการแยกสลาย เศษวัสดุจากพืชในครั้งต่อไป (วงจร 7: การแยกสลายด้วยความร้อนโดยไม่ใช้ออกซิเจน-พลังงานชีวภาพ) พลังงานชีวภาพที่ได้จากการผลิตไบโอชาร์นี้สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นพลังงานความร้อน และเป็นเชื้อเพลิงในการขนส่งได้ (CSIRO,2008)  ผลการวิจัยยังพบว่าไบโอชาร์ช่วยลดการแพร่กระจาย N2O และ CH4  (Zafar,2009; Wikipedia,2009)  ซึ่งทั้ง CO2, N2O และ CH4  ต่างเป็นก๊าซเรือนกระจกหลักที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
   จากรูปที่ 1 วงจร 8 ถึงวงจร 21 พัฒนาจากแบบจำลองการประเมินศักยภาพชุมชนด้านความเข้มแข็งและความยากจน (อรสา,2548)  ถ้า ภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ภัยจากน้ำท่วม พายุ เพิ่มขึ้น  ส่งผลให้ต้องมีรายจ่ายจากความเสียหายเพิ่มขึ้น  ทำให้รายได้ลดลง และการจัดการทรัพยากร เช่น การใช้ที่ดิน มีปัญหามากขึ้น  ส่งผลให้ก๊าซเรือนกระจกมีโอกาสเพิ่มขึ้น (วงจร 8 : ก๊าซเรือนกระจก-ภาวะโลกร้อน-ความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติ-รายจ่าย-ราย ได้-การจัดการทรัพยากร) และทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นด้วย (วงจร 9 : รายจ่าย-รายได้-การจัดการทรัพยากร) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ  การใช้ปุ๋ยเคมี การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง และการจัดการทรัพยากร ล้วนมีผลกระทบต่อรายจ่าย  หากรายจ่ายเพิ่มขึ้นจะทำให้รายได้ที่มีอยู่ลดลง  ทำให้ความจนเพิ่มขึ้น การเข้าถึงบริการทางสังคมลดลง การทำงานแย่ลง และสุดท้ายทำให้รายได้ลดลง (วงจร 10: รายได้-ความจน-การเข้าถึงบริการทางสังคม-การทำงาน)  ถ้ามีความจนมากโอกาสให้ทาน รักษาศีล และการทำภาวนา มีน้อยลง  อาจส่งผลให้ความจนเพิ่มขึ้น (วงจร 12: ความจน-ทาน ศีล ภาวนา)  และอาจทำให้การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงเกิดได้ยาก ทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้น  ส่งผลให้รายได้ลดลง (วงจร 11 : รายจ่าย-รายได้-ความจน-ทาน ศีล ภาวนา-การดำเนินชีวิตแบบพอเพียง)   วงจร 13 (การจัดการทรัพยากร-รายจ่าย-รายได้-ความจน-การเข้าถึงบริการทางสังคม-การทำ งาน-เครือข่ายอาชีพ) วงจร14 (การจัดการทรัพยากร-การเรียนรู้-การมีส่วนร่วม-เครือข่ายคนดี-ทาน ศีล ภาวนา-ความจน-การเข้าถึงบริการทางสังคม-การทำงาน-เครือข่ายอาชีพ)   วงจร 15 (การจัดการทรัพยากร-การเรียนรู้-การมีส่วนร่วม-เครือข่ายคนดี-การเข้าถึง บริการทางสังคม-การทำงาน-เครือข่ายอาชีพ)
   วงจร 16 (การจัด การทรัพยากร-การเรียนรู้-การมีส่วนร่วม-เครือข่ายอาชีพ) และวงจร 17 (การจัดการทรัพยากร-การเรียนรู้-การวางแผน)  เป็นวงจรบวกที่ช่วยเสริมให้การจัดการทรัพยากรดีขึ้น ถ้าองค์ประกอบในระบบทำงานเสริมกันในทางที่เติบโต   แต่ถ้าองค์ประกอบในระบบเสริมกันในทางที่เสื่อมถอย จะส่งผลให้การจัดการทรัพยากรแย่ลง  วงจร 18 ถึง วงจร 21 เป็นวงจรบวกเช่นกันต่างทำงานเสริมกัน  ซึ่งถ้าเสริมกันในทางที่เติบโตจะส่งผลให้การวางแผนมีประสิทธิภาพทำให้การ จัดการทรัพยากรดีขึ้น และส่งผลให้การมีส่วนร่วมมีมากขึ้น โอกาสทำโครง การ CDM มีความเป็นไปได้สูง   และมีโอกาสเพิ่มรายได้ให้กับผู้ทำ  การ จัดการทรัพยากรในที่นี้ครอบคลุมการจัดการเรื่องการใช้ที่ดิน น้ำ และระบบเกษตรกรรม การจัดการทรัพยากรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับระบบการวางแผน เครือข่ายอาชีพ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อการหารายได้ ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน การผลิตไบโอชาร์  และการเรียนรู้ของชุมชน   รายได้ซึ่งได้รับอิทธิพลจากรายจ่าย จะส่งผลย้อนกลับไปที่การจัดการทรัพยากรและส่งผลกระทบถึงความยากจน  การเข้าถึงบริการทางสังคม การทำงาน ซึ่งจะส่งผลย้อนกลับไปที่รายได้อีก  จากสมมติฐานนี้ถ้าจะทำให้ระบบการจัดจัดการทรัพยากรมีการทำงานแบบยั่งยืน  ต้องมียุทธศาสตร์ที่ทำให้วงจรลบซึ่งประกอบด้วยวงจร 1 และวงจร 2 ทำงานเด่นกว่าวงจร 3 และวงจร 4   เพราะจะทำให้ภาวะโลกร้อนลดลง   ส่งผลให้วงจร 9 และวงจร 13 ทำงานเสริมกันในทิศทางที่เติบโต   การทำให้รายได้เพิ่มขึ้นมี 4 ทาง คือ การลดรายจ่าย การทำงานมากขึ้น การเพิ่มผลผลิตพืช และการเข้าร่วมโครงการ CDM (Kogachi,2009;UNDP,2007;Starke,2009;TGO,2009) โดยมีความเข้มแข็งของชุมชน เครือข่ายอาชีพ และเครือข่ายคนดี เป็นตัวขับเคลื่อนให้การจัดการทรัพยากรมีประสิทธิภาพ
สรุป
            ภาวะ โลกร้อนมีผลกระทบต่อระบบเกษตรกรรม ขณะเดียวกันระบบเกษตรกรรมก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนซึ่งมีสาเหตุ มาจากการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และพฤติกรรมในการทำการเกษตร แนวคิดในการแก้ปัญหาดังกล่าวจะต้องทำในลักษณะองค์รวม คือไม่ได้แก้ส่วนใดส่วนหนึ่งตามลำพัง  เพราะแต่ละส่วนของปัญหามีผลกระทบซึ่งกันและกัน ปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อน เรื่องความเสื่อมของดิน และความยากจน มีความสัมพันธ์กันในระบบย้อนกลับ  การแก้ปัญหาส่วนหนึ่งจะต้องไม่ไปทำให้ส่วนอื่นมีปัญหา แนวคิดที่สำคัญในขณะนี้คือการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งสามารถทำได้ในสองทางคือ  การกักเก็บคาร์บอนโดยธรรมชาติผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งทำได้โดยการ รักษาป่าไม้ การปลูกผัก ทุ่งหญ้า ให้คงอยู่ และ ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยการทำลายป่า อีกทางหนึ่งคือการใช้เทคโนโลยีไบโอชาร์กักเก็บคาร์บอนลงดิน  เป็นการตัดวงจรการกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศของคาร์บอนไดออกไซด์ วิธีนี้กำลังได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติให้เป็นเครื่องมือลดภาวะโลกร้อน และเป็นกลไกทางเศรษฐกิจต่อจากพิธีสารเกียวโต สำหรับช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีแหล่งทุนในการทำโครงการกลไกการพัฒนาที่ สะอาด ด้วยการนำมวลชีวภาพซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรมาแยกสลายด้วยความ ร้อนแทนการเผาทิ้ง  เพื่อแยกคาร์บอนจากมวลชีวภาพมาอยู่ในรูปของไบโอชาร์ เมื่อใส่ไบโอชาร์ลงในดิน จะสามารถกักเก็บคาร์บอนซึ่งมีสภาพเสถียรให้อยู่ในดินได้เป็นเวลายาวนาน  นอกจากนั้นไบโอชาร์ยังช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้รายได้มีโอกาสเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมและมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อปี มาก สามารถทำยุทธศาสตร์ด้านพลังงานทดแทนและการลดภาวะโลกร้อน ด้วยการใช้เทคโนโลยีไบโอชาร์และพลังงานชีวภาพไปพร้อมกัน เช่น การใช้มันสำปะหลังเพื่อการผลิตเอทานอล และใช้เหง้ามันสำปะหลังซึ่งเป็นของเหลือทิ้งผลิตไบโอชาร์  เป็นต้น
**********************************
คณะผู้วิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร. อรสา สุกสว่าง
ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร.
 02-561-3480 9 ต่อ 447 โทรศัพท์มือถือ 081 643-6556
ที่มา : http://rdi.ku.ac.th/kasetresearch54/GroupSocial/18-Orasa-su/18-Orasa-su.html

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ถ่านชีวภาพ ( Biochar )

ถ่านชีวภาพ
 Biochar
ถ่านชีวภาพ หรือ Biochar
ไบโอชาร์ (Biochar) อีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการผลิตพลังงาน


     เครื่องเผาไหม้ไบโอชาร์ที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการแก้ปญัหาสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างพลังงาน ผลิตภัณฑ์อาหารและการลดภาวะโลกร้อน วิศวกรนักวิจัยไบอัน ไบเบน หนึ่งในนักวิจัยที่ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการรีไซเคิลคาร์บอนในแบบต่างๆ ซึ่งขณะนี้นายไบเบนได้ให้ความสนใจ “ถ่านชีวภาพ หรือ Biochar” เป็นอย่างมาก ถ่านชีวภาพชนิดนี้ทำมาจากของเสียจากสิ่งมีชีวิต (organic waste) ที่มีลักษณะเหมือนถ่านหินที่มีรูพรุน ซึ่งสสารเหล่านั้นอาจจะได้มาจากซากต้นไม้ การเพาะปลูกหรือมูลสัตว์ เช่น เศษไม้ ซางข้าวโพด เปลือกถัว่ลิสงหรือแม้แต่ปุ๋ยมูลสัตว์ที่ได้จากสัตว์

     ถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์นั้นได้รับการพิจารณาจากนักวิทยาศาสตร์ทัง้หลายให้เป็นเสมือนทองสีดำของชาวเกษตรกรรมด้วยคุณสมบัติที่มีสารคาร์บอนสูงและมีรูพรุนตามธรรมชาติช่วยให้ไบโอชาร์สามารถอุ้มน้ำและธาตุต่างๆรวมถึงการป้องกันจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน อีกทัง้ยังเป็นการเพิ่มการย่อยสลายและแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ในดิน ในขณะที่ไบโอชาร์ทำหน้าที่เสมือนกับอ่างคาร์บอนธรรมชาติ ไบโอชาร์ช่วยในการทำความสะอาดอากาศได้ 2 ทาง คือ การป้องกันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสารชีวภาพขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและการช่วยให้พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างช้าๆในขณะที่พืชสังเคราะห์แสง

     ขั้นตอนของกระบวนการเผาไหม้ของไบโอชาร์สามารถนำไปสู่การผลิตวัสดุอื่นๆ ก๊าซส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการสามารถเปลี่ยนไปเป็นกระแสไฟฟ้าได้ ส่วนก๊าซอีกส่วนหนึ่งสามารถถูกหลอมเพื่อให้เปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิง จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้มวลชีวภาพทีร่าพรีต้าช่วยป้องกันการทำลายสภาพป่าในการเกษตรกรรม และในปจัจุบันก็ยังมีการทำการทดลองขนาดใหญ่เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีไบโอชาร์ไปใช้งานในระดับที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นักวิจัยมีความเชื่อว่ามวลสารชีวภาพที่พัฒนาออกมาในรูปแบบของไบโอชาร์ยังสามารถได้รับการพัฒนาเพื่อการพาณิชย์ในด้านต่างๆ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ กระแสไฟฟ้า การสกัดสารชีวภาพและองค์ประกอบของยา

ไบโอชาร์ (Biochar) อีกหนึ่ งทางเลือกใหม่ในการผลิตพลังงาน

     ในบริเวณมหาวิทยาลัยจอร์เจีย เครื ่องเผาไหม้ไบโอชาร์ที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหา
สิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างพลังงาน ผลิตภัณฑ์อาหารและการลดภาวะโลกร้อน วิศวกรนักวิจัยไบอัน ไบเบน หนึ่งในนักวิจัยที่ทําการค้นคว้าเกี่ยวกับการรีไซเคิลคาร์บอนในแบบต่างๆ ซึ ่งขณะนี้นายไบเบนได้ให้ความสนใจ “ถ่านชีวภาพ หรือ Biochar” เป็นอย่างมาก ถ่านชีวภาพชนิดนี้ทํามาจากของเสียจากสิ่งมีชีวิต (organic waste) ที่มีลักษณะเหมือนถ่านหินที ่มีรูพรุน ซึ่งสสารเหล่านั ้นอาจจะได้มาจากซากต้นไม้ การเพาะปลูกหรือมูลสัตว์ เช่นเศษไม้ ซางข้าวโพด เปลือกถั ่วลิสงหรือแม้แต่ปุ ๋ ยมูลสัตว์ที่ได้จากสัตว์
    นายไบเบนได้นํ าเอาสสารต่างๆข้างต้นใส่เข้าไปในเครื่องที่มีลักษณะเหมือนถังแปดเหลี ่ยมที่สามารถให้ความร้อนด้วยอุ ณหภูมิสู งมากๆซึ่งในบางกรณีต้องมีความร้อนสูงมากเกินกว่า 1000 องศาฟาเรนไฮด์ สสารเหล่ านั ้นจะถูกให้ความร้ อนผ่านกระบวนการย่อยสลายด้ วยการให้ความร้อนทางเคมีเรียกว่ า ไพโรไลซิส  (Pyrolysis) หลังจากผ่านกระบวนการดังกล่าวภายในไม่กี่ชั่วโมง สสารจากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะถูกเปลี ่ยนไปเป็นวัตถุที่มีลักษณะกลมเหมือนถ่านหินซึ่งชาวไร่สามารถใช้สสารเหล่านี้เป็นปุ ๋ ยและก๊ าซที ่ได้จากกระบวน การนี้สามารถให้พลังงานไฟฟ้ าแก่รถยนต์ได้
ขบวนการ ไพโรไลซิส
     ถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์นั้นได้รับการพิจารณาจากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายให้เป็ นเสมือนทองสีดําของชาวเกษตรกรรม ด้วยคุณสมบัติที่มีสารคาร์บอนสูงและมีรูพรุนตามธรรมชาติช่วยให้ไบโอชาร์สามารถอุ้มน้ำและธาตุต่างๆรวมถึงการป้องกันจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มการย่อยสลายและแยกก๊าซคาร์บอนได-ออกไซด์เอาไว้ในดิน ในขณะที ่ไบโอชาร์ทําหน้าที ่เสมือนกับอ่างคาร์บอนธรรมชาติ ไบโอชาร์ช่วยในการทําความสะอาดอากาศได้ 2 ทาง คือ การป้ องกันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสารชีวภาพขึ ้นสู่ชั ้นบรรยากาศและการช่วยให้พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างช้าๆในขณะที่พืชสังเคราะห์แสง

     นายคริสโตเฟอร์ สไตเนอร์ หนึ่งในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นคว้าเกี่ยวกับไบโอชาร์ได้ให้ความเห็นว่า ไบโอชาร์ทําหน้าที่เหมือนบ่อคาร์บอนขนาดใหญ่ด้วยการเพิ่มธาตุคาร์บอนในตัวเอง จึงเป็ นผลทําให้เกิดการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั ้นบรรยากาศ และเป็ นโอกาสที่ดีที่นักวิจัยจะใช้ไบโอชาร์ในการผลิตพลังงานซึ่งนายเจมส์ แฮนเซ่น (James Hansen) นักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซ่าได้ให้ความเห็นว่า ถ้าทั ่วโลกใช้ไบโอชาร์แล้วจะสามารถลดปริมาณระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็ นปริมาณ 8 ส่วนในหนึ่งล้านในระยะเวลา 50 ปี

     จากรายงานของสถาบันมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric
Administration) รายงานว่าอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื ่ องของระดับคาร์บอนในอากาศเป็นเสมือนสัญญาณเตือนภัยมาตั้งแต่ช่วงปี 2523 และตั้งแต่ปี 2543 อัตราการลดปริมาณระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ ้น 2ส่วนในหนึ่งล้านส่วน จากรายงานดังกล่าวอัตราการลดปริมาณระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 1.5ส่วนในหนึ่งล้านต่อปี

     ขั ้นตอนของกระบวนการเผาไหม้ของไบโอชาร์สามารถนําไปสู่การผลิตวัสดุอื่นๆ ก๊าซส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการสามารถเปลี่ยนไปเป็ นกระแสไฟฟ้ าได้ ส่วนก๊าซอีกส่วนหนึ่งสามารถถูกหลอมเพื่อให้เปลี่ยนเป็ นเชื้อเพลิง และยังมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้จากไบโอชาร์นี้ในบริษัทเอกชนในเมืองเอเธนส์มลรัฐจอร์เจีย ในอดีตนับหลายร้อยปีมาแล้วชนพื้นเมืองในแถบอเมริกาใต้ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มนํ้าอเมซอนได้ใช้มูลสัตว์และไม้ในการทําทีร่าพรีต้า (Terra preta) ซึ่งชาวพื้นเมืองในโปรตุเกสได้ให้ความหมายว่าโลกดํา (black earth) ซึ ่งหมายถึงสีของดินที่ได้นั ้นมีสีคลํ้าจนเกือบดํา จากนั้นดินทีร่าพรีต้านี้ยังคงมีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์โดยที่ไม่ต้องใส่ปุ ๋ ยหรือแร่ธาตุใดๆ เพิ่มเข้าไป
     จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงทําให้มวลชีวภาพทีร่าพรีต้าช่วยป้ องกันการทําลายสภาพป่าในการเกษตร
กรรมและในปัจจุบันก็ยังมีการทําการทดลองขนาดใหญ่เพื่อที่จะนํ าเทคโนโลยีไบโอชาร์ไปใช้งานในระดับที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นักวิจัยมีความเชื่อว่ามวลสารชีวภาพที่พัฒนาออกมาในรูปแบบของไบโอชาร์ยังสามารถได้รับการพัฒนาเพื่อการพาณิชย์ในด้านต่างๆ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ กระแสไฟฟ้ า การสกัดสารชีวภาพและองค์ประกอบของยา

***********************

ที่มา :  http://www.stks.or.th/blog/?p=7152
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่: http://www.nstda.or.th/index.php/nstda-doc-archives/doc_download/268—-42552

***********************

ไพโรไลซิส
Pyrolysis


     คำว่า Pyrolysis เป็นภาษากรีก ที่ได้จาก องค์ประกอบของคำว่า  pyr  ซึ่งแปลว่า "ไฟ"  และ   lysis  ซึ่งแปลว่า "แยก" นำเอาสองคำดังกล่าวมาผสมกันเข้าเป็น Pyrolysis

      ถ้าแปลเป็นภาษาไทย ก็คงหมายความว่าการแยกส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ให้แยกออกจากกันด้วยไฟหรือความร้อน โดยไม่ให้อินทรีย์วัตถุนั้นติดไฟ  ส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ค่อย ๆ แตกตัว แยกตัวออกจากกันตามอุณหภูมิที่ได้รับ

      การแตกตัวและการแยกส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุตามขบวนการ Pyrolysis จึงต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะที่สามารถควบคุมขบวนการแปลี่ยนแปลงในขั้นตอนต่าง ๆ ได้


ถ่านชีวภาพ
Biochar

     ถ่านชีวภาพ หรือ Biochar คือ ผลผลิตหนึ่งที่ได้จากขบวนการ Pyrolysis  ของอินทรีย์วัตถุที่นำมาเป็นวัตถุดิบในขบวนการ  เช่น ไม้ เนื่อสัตว์ มูลสัตว์ เศษขยะ ยางรถยนต์ ฯลฯ ใช้อุณหภูมมากกว่า  430 °C (800 °F). ขบวนการ Pyrolysis ของไม้ ใช้อุณภูมิ ประมาณ  200–300 °C (390–570 °F)

ดูรายละเอียดใน : http://en.wikipedia.org/wiki/Pyrolysis
เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เกลือไม้ไผ่ " บันตัน " ( BUNTON )

เกลือไม้ไผ่
*******
เกลือไผ่
      
      " เกลือไม้ไผ่ " คือสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดและมีประโยชน์มากสำหรับผู้รักสุขภาพ

     " เกลือไม้ไผ่ " ถูกนำมาใช้เป็นอาหารและเป็นยาพื้นบ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณในประเทศเกาหลี

     ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีส่วนผสมของเกลือไม้ไผ่ได้รับการยอมรับ อย่างมากแม้ในหมู่ชาวญี่ปุ่น  มีผู้สนใจและรู้เเรื่องเกลือไม้ไผ่มากขึ้น

เกลือไผ่
      กรรมวิธีการผลิต " เกลือไม้ไผ่ "  มีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนมาก  เป็นภูมิปัญญาอันเก่าแก่ของประเทศเกาหลี  ที่สืบทอดและตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

     ผู้ผลิตเกลือไม้ไผ่ในประเทศเกาหลีใต้  ใช้เกลือธรรมชาติจากทะเลตะวันตก  ซึ่งเป็นเกลือที่ไม่มีสารพิษเช่น สารหนู ตะกั่ว สังกะสี โลหะหนัก ตกค้าง
เกลือไผ่
     การผลิต " เกลือไม้ไผ่ " บรรจุ เกลือในกระบอกไม้ไผ่และเผาด้วยความร้อนสูง  ประมาณ  800 องศาเซลเซียส  เกลือจะละลายเป็นก้อนเดียวกันมีลักษณะเป็นสีขาว  การเผาในขั้นตอนนี้ ทำอย่างน้อย 3 ถึง 9 ครั้ง  โดยมีดินสีเหลืองเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิต

      ขั้นตอนสุดท้ายจะเผาด้วยอุณหภูมิสูงมากกว่า 1200 ถึง 2000  องศาเซลเซียส  ทำให้เกลือถูกผสมด้วยสารสกัดที่มีประโยชน์จากไม้ไผ่อย่างเต็มที่และมากมาย  สารพิษต่าง ๆ จะถูกกำจัดจนหมดสิ้น

     กรรมวิธีการทำ  " เกลือไม้ไผ่ " ของเกาหลีแตกต่างจากการทำ  " เกลือสะตุ " ของไทยที่คนรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย ของไทยเราเคยทำกันมาแต่โบราณ   

     " เกลือไม้ไผ่ " จึงเป็นเกลือที่สะอาดปราศจากสารพิษตกค้าง มีลักษณะเป็นเกลือสีชมพูและสีขาวนวล ในประเทศเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น ราคาแพงมาก

ตัวอย่าง
เกลือไม้ไผ่ ของญี่ปุ่น
นน.20 g×2 ขวด 
ราคา 2,625  
ประมาณ 992.51 บาท 
(ราคาในประเทศญี่ปุ่น รวมถาษี )

****************
เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก
 http://www.bantanthai.com
๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผงถ่านกัมมันต์


ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ของผงถ่านกัมมันต์ 
Activated charcoal
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

******** 
 
        ใช้ประโยชน์จากลักษณะที่เป็นผงๆ มีพื้นที่ผิวมากในการดูดซับสารพิษหรือยา ยาที่แตกตัวเป็นประจุ หรือสารโมเลกุลเล็กเช่น alcohol  จะถูกดูดซับได้ไม่ดี การให้ผงถ่านซ้ำๆ กันหลายครั้ง จะเพิ่มการขับถ่ายยาที่มี enterohepatic recirculation เช่น digitoxin หรือยาที่มีการซึมกลับสู่ทางเดินอาหารใหม่ เช่น  phenobarbital หรือ theophylline

ข้อบ่งใช้

    1.ยับยั้ง หรือลดการดูดซึมยาหรือสารพิษที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไป โดยให้หลังจากผ่านการล้างท้อง หรือ การทำให้อาเจียนด้วย  ipecac syrup
    2.ให้ผงถ่านซ้ำๆ เพื่อเพิ่มการขับถ่ายยาหรือสารพิษออกจากร่างกาย ในกรณีที่เป็นพิษจากยาหรือสารพิษ

ข้อห้ามใช้

    1.มีการอุดกั้นในทางเดินอาหาร
    2.รับประทานสารพิษที่เป็นกรด หรือด่าง ผงถ่านทำให้การส่องกล้องดูทางเดินอาหารเป็นไปด้วยความลำบาก

อาการไม่พึงประสงค์

        ท้องผูก ป้องกันได้โดยให้ร่วมกับยาถ่าย ท้องอืด ท้องเสีย เนื่องจากได้รับยาถ่าย ทำให้เกิดการขาดน้ำและ hypernatremia มีการอุดตันของลำไส้

ปฏิกิริยาต่อยาอื่น

    1.ขัดขวางการดูดซึมยาต้านพิษชนิดอื่น เช่น N-acetylcysteine
    2.ฤทธิ์ในการดูดซึมของผงถ่านจะลดลง เมื่อให้ร่วมกับอาหารประเภทนม ไอศกรีม หรือน้ำเชื่อม

ขนาดหรือวิธีใช้

    1.ขนาดยาครั้งแรก 1 g/kg ให้รับประทานหรือให้ทางสายยาง หรือให้ 10 เท่าของน้ำหนักของสารพิษที่ได้รับ
    2.Repeated dose 15-20 g ทุก 4-8 ชั่วโมง ให้รับประทานหรือให้ทางสายยาง ให้ยาถ่ายในขนาดต่ำๆ ทุก 2-3 ครั้งของการให้ผงถ่าน

***********************
อ้างอิง
คัดลอกข้อมูลจาก :www.tranghos.go.th/file_information/2460prakassob.doc
Presented by Pharmacy Department,   Trang Hospital ,   March,2001.
( ภาควิชาเภสัชกรรมโรงพยาบาลตรัง )

เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ถ่านขาว ( White Charcoal )

ถ่านขาว
White Charcoal
********************
     ถ่านขาว ( White Charcoal ) ภาษาญี่ปุ่นเรียก Bincho Tan หรือ Bincho - Zumi เป็นถ่านที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น  เริ่มต้นผลิตในสมัยเอโดะเมื่อช่วงยุค Genroku โดยผู้ที่คิดค้นพบกรรมวิธีการผลิตถ่านขาวคนแรกเป็นผู้มีประสพการรณ์เรื่องการเผาถ่านชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า Bitchu - Ya  Chozaemon (中屋 左衛門 ) เริ่มผลิตเป็นครั้งแรกที่เมือง Tanabe จังหวัด Wakayama ประเทศญี่ปุ่น วัตถุดิบใช้ไม้โอ๊ค โดยการตัดแต่งกิ่งก้านขนาดเล็กนำมาเผาเป็นถ่าน  ได้ถ่านไม้ที่มีคุณภาพสูงมาก คือ :-
  • มีค่าความเป็นถ่านคงที่  ( Fixed  Carbon )  สูงมากกว่า 85 เปอร์เซนต์ 
  • มีขี้เถ้า ( Ash ) น้อย  
  • มีความชื้น ( Moisture ) ต่ำ 
  • มีสารระเหย ( Volatile matter ) ตกค้างน้อย
        ถ่านขาว ( White Charcoal ) เผาด้วยอุณหภูมิมากกว่า 1000 องศาเซลเซียส กรรมวิธีดั้งเดิมหลังจากที่ถ่านภายในเตามีอุณหภูมิมากกว่า 1000 องศาเซลเซียส ผู้ผลิตจะนำถ่านที่กำลังร้อนจัดออกมาจากเตาและทำการกลบทับด้วยขี้เถ้าผสมดิน ( สูตรลับเฉพาะ )  ทำให้ถ่านเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว  หลังจากนั้นจะนำถ่านที่เย็นสนิทดีแล้วออกมาทำความสะอาด  จะสังเกตุเห็นว่าผิวนอกของถ่านจะมีสีขาวนวลเหมือนสีขี้เถ้า  จึงพากันเรียกว่าถ่านขาว เมื่อนำแท่งถ่านมาหักดู  จะเห็นว่าบริเวณรอยหักมีสีดำมันวาวบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของถ่าน  เคาะดูจะมีเสียงดังกังวานเหมือนเสียงโลหะ



     กรรมวิธีการผลิตถ่านขาว ถือเป็นภูมิปัญญาที่ชาวญี่ปุ่นหวงแหนมาก ต้องใช้ความชำนาญพิเศษเฉพาะตัวของผู้ผลิต ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนรู้และฝึกฝนนานมาก ปัจจุบันมีผู้ที่สามารถผลิตถ่านขาวได้อยู่เพียงไม่กี่คน  ความรู้เรื่องการผลิตถ่านขาวจึงเป็นความลับสุดยอดของชาวญี่ปุ่น 

     ถ่านขาว ( White Charcoal ) มีคุณภาพสูงมากกว่าถ่านทั่วไปและมีราคาแพง แต่มีผู้ใช้ในวงจำกัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวญี่ปุ่นเท่านั้นที่ใช้และรู้จักถ่านขาวดี  ทั้งนี้เพราะชาวญี่ปุ่นนิยมรัปทานอาหารปิ้ง ย่าง    นอกจากนั้นประเทศญึ่ปุ่นยังมีประเพณีชงชาซึ่งเป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวญี่ปุ่น  ต้องใช้ถ่านขาวเป็นส่วนประกอบหนึ่งในพิธีดังกล่าว  ถ่านขาวจึงมีความจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันชาวญี่ปุ่นมาก

************************ 
ข้อมูลบางส่วนสืบค้นจาก : wikipedia
เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก
 http://www.bantanthai.com

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ถ่านไม้ยูคาลิปตัส ( Eucalyptus Charcoal )

ถ่านไม้ยูคาลิปตัส
( Eucalyptus Charcoal )

     ถ่านไม้ยูคาลิปตัส ( Eucalyptus Charcoal ) ผลิตด้วยกรรมวิธีการผลิตถ่านคุณภาพสูง เป็นกรรมวิธีการผลิตถ่านคุณภาพสูงในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิสูงมากกว่า 1,000 ºC 
   ถ่านไม้ยูคาลิปตัส ผลิตจากไม้ยูคาฯ ที่มีการส่งเสริมให้ปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจ มีการปลูกทดแทนหมุนเวียน เพื่อป้อนเข้าสู่โรงงาน

 ถ่านไม้ยูคาลิปตัส ที่เราผลิตมีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าถ่านทั่วไปที่เผาด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิม คือ :-
  • เปอร์เซนต์ความชื้น ( Moisture % ) ต่ำ
  • เปอร์เซ็นต์ขี้เถ้า ( Ash % ) ต่ำ
  • เปอร์เซ็นต์สารระเหยตกค้าง ( Volatile matter % ) ต่ำ
  • เปอร์เซ็นต์ค่าความเป็นถ่านบริสุทธิ์ (Fixed carbon %) สูง
  • ปริมาณความร้อน ( Calorific Value . cal/g ) สูง
  • ไร้กลิ่น ไร้ควัน
      จึง เหมาะสำหรับการ ปิ้ง ย่าง ยาร์บีคิว ยากิโตริ เพิ่มกลิ่นหอมและเพิ่มรสชาติให้อาหารใช้ได้ทั้งในห้องธรรมดาและห้องปรับ อากาศ ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในขณะที่ติดไฟ 

มาตรฐานถ่านไม้คุณภาพสูง
ความชื้น     Moisture (%)                                 ≤8.5
ขี้เถ้า   Ash (%)                                              ≤3.0
สารระเหย   Volatile matter (%)                        ≤10.0
ค่าถ่านคงที่   Fixed carbon (%)                        ≥85.0

************************
เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก
 http://www.bantanthai.com

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คุณค่าของไม้ไผ่ที่คนไทยยังไม่คุ้นเคย

โดย : ดร. บุญวงศ์   ไทยอุตส่าห์
คณะวนศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

****************************************

คุณค่าของไม้ไผ่ที่คนไทยยังไม่คุ้นเคย

            ผมคิดว่าคนไทยทุกคนจะรู้จักไม้ไผ่และเคยได้รับประโยชน์จากไม้ไผ่ ไม่ในทางตรงก็ทางอ้อม ส่วนจะมากหรือน้อยนั้นย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะไผ่เป็นพืชสารพัดประโยชน์ซึ่งพบเห็นทั่วไปในทุกตำบล หมู่บ้าน หรือแทบจะทุกครัวเรือนก็ว่าได้
          ในโลกนี้มีไม้ไผ่อยู่ทั้งในเขตร้อน เขตหนาว และเขตอบอุ่นรวมทั้งสิ้น 77 สกุล จำนวน 1,030 ชนิด แต่ส่วนใหญ่พบในเขตร้อนทางตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งมีถึง 750 ชนิด สำหรับในประเทศไทยนั้น ข้อมูลในหนังสือ “ไม้ไผ่ในประเทศไทย”  ของ ดร. รุ่งนภา  พัฒน วิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ไผ่ของกรมป่าไม้ ระบุว่ามีอยู่ 15 สกุล 82 ชนิด มีทั้งป่าไผ่ธรรมชาติและไผ่ที่ปลูกขึ้นมา มีทั้งไผ่พื้นเมืองและไผ่ต่างถิ่นซึ่งนำจากต่างประเทศเข้ามาปลูกด้วยวัตถุ ประสงค์หลักแตกต่างกัน
          เป็น ที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า กาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีป่าไผ่ธรรมชาติขึ้นอยู่กว้างขวางอ ในขณะที่ปราจีนบุรีเป็นจังหวัดที่มีการปลูกไม้ไผ่มากที่สุดในประเทศไทยและ ไผ่ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นไผ่ตง นั่นคือ เมื่อพูดถึงป่าไผ่ธรรมชาติก็มักจะนึกถึงจังหวัดกาญจนบุรี แต่พอพูดถึงสวนไผ่ตงก็จะนึกถึงจังหวัดปราจีนบุรีเป็นลำดับแรก
          ไผ่ตงเป็นไผ่ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีผู้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2447  ( คือ 101 ปี มาแล้ว ) ที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อการบริโภคหน่อเป็นเป้าหมายหลัก ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกออกไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ  และได้มีการส่งออกในรูปของหน่อไม้ไผ่ตงแปรรูป นำเงินตราเข้าประเทศได้สูงถึงปีละกว่าหนึ่งพันล้านบาท มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศเกือบ 425,000 ไร่
          แต่จากการออกดอกและตายขุยของไผ่ตงในช่วงปี พ. ศ. 2537 -  2539 ทำให้ไผ่ตงอายุกว่า 100 ปี ตายไปกว่า 300,000 ไร่ หลังจากนั่นก็มีการเก็บเมล็ดมาเพาะและคัดเลือกสายพันธ์ใหม่ได้สายพันธ์ดีที่รู้จักกันในชื่อ “ศรีปราจีน” หรือ “ เพชรประจันตาคาม” ตามชื่ออำเภอถิ่นกำเนิดเดิม คือ อำเภอประจันตาคาม จังหวัดปราจีนบุรี
          กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงานเมื่อปี พ. ศ. 2547 ว่าในปี พ. ศ. 2542 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกไม้ไผ่ตงอยู่ 144,351 ไร่ โดยส่วนใหญ่ปลูกเพื่อการบริโภคหน่อ
          ทว่า ไผ่ตงไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะหน่อเพื่อการบริโภคเป็นอาหารเท่านั้น แต่ลำไม้ไผ่โดยเฉพาะไผ่ตงหม้อและไผ่ตงดำ ซึ่งมีลำขนาดใหญ่ ยาว 20 – 25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 – 20 เซนติเมตร เนื้อไม้หนา 15 – 35 มิลลิเมตร นั้นนิยมใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ก่อสร้างบ้านเรือน และใช้เป็นไม้หลักปักเลี้ยงหอยในทะเล ซึ่งซื้อขายกันที่สวนถึงลำละ 80 – 100 บาท
          นอกจากนี้ ไม้ไผ่แทบทุกชนิดที่มีคุณลักษณะของลำใกล้เคียงกับไผ่ตงยังนิยมใช้เผาถ่านและน้ำส้มไม้อีกด้วย
          น้ำส้มไม้ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่านมีคุณค่านานาประการ ทั้งทางด้านการเกษตร ในครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรม โดยจะพูดถึงผลประโยชน์ของน้ำส้มไม้ในเชิงลึกในโอกาสต่อไป วันนี้จะเน้นมาที่ถ่านจากไม้ไผ่ก่อน 
      

ถ่านไม้ไผ่
( Bamboo Charcoal )
     
   ถ่าน ที่จะกล่าวถึงนี้ไม่ใช่ถ่านเพื่อการหุงต้ม หรือถ่านเพื่อให้ความร้อนดังที่คนไทยคุ้นเคยกันมาแต่โบราณกาล แต่เป็นถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในประเทศ ญี่ปุ่น แต่การใช้ถ่านไม้ไผ่เพื่อประโยชน์ทางสุขภาพของคนไทยนั้นยังอยู่ในวงจำกัดมาก แม้ประเทศไทยจะมีศักยภาพในการผลิตสูงก็ตาม เพราะประเทศไทยมีไม้ไผ่อยู่มากมายทั่วประเทศ และคนไทยก็มีทักษะในการผลิตถ่านสูงอีกด้วย
     เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พ. ย. 2548 ผมและคณะจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ Roger Kjel gren แห่งมหาวิทยาลัย Utah State  ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมการผลิตถ่านไม้ไผ่และผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่ไทย อากาศดี ของชุมชนนำโดย คุณกิตติ  เลิศล้ำ ที่บ้านเลขที่ 110 หมู่ที่ 1 ตำบลสำพันตา  อำเภอนาดี  จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ว่า “บันตัน” (Bunton) โดยมีบริษัทชาร์โคลโฮม กม. 8 เป็นผู้จัดจำหน่าย
          คุณกิตติ เล่าให้ฟังว่า ได้ประสบการณ์การผลิตถ่านไม้ไผ่มาจากชาวญี่ปุ่น โดยชื่อ “บันตัน” นั้นเดิมตั้งใจจะใช้ชื่อว่า “บ้านถ่าน” หรือ Charcoal Home แต่เพื่อนชาวญี่ปุ่นออกเสียงบ้านถ่านเป็นบันตัน ประกอบกับคำว่า “ตัน” ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “ถ่าน” และถ่านเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นก็ผลิตจากไม้โอ๊คและไม้ไผ่ ที่หมู่บ้านถ่านที่ชื่อว่า “บินโจตัน”
          คุณกิตติจึงใช้ “บันตัน” : ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ เป็นชื่อทางการค้าไปเลย และได้รับการคัดสรรจากรัฐบาลให้เป็นสินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว ของภาคกลางจากจังหวัดปราจีนบุรีในปี พ. ศ. 2546
          ไม้ ไผ่ที่นำมาเผาผลิตถ่านเพื่อสุขภาพนั้นจะเป็นไม้ไผ่ชนิดใดก็ได้ แต่ที่นิยมมากคือ ไผ่ตง ไผ่เลี้ยง และไผ่สีสุก โดยเฉพาะไผ่เลี้ยงนั้นเผาง่าย เพราะมีการยืดหดตัวน้อย แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ลำไม้ไผ่ที่ใช้ต้องมีอายุตั้งแต่สองปีขึ้นไป ปล้องที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป มีความยาวเหมาะสมมากกว่าท่อนโคนที่อยู่ชิดดินซึ่งเผายากกว่ามาก
          เมื่อได้ไม้ไผ่มาแล้ว ขั้นตอนในการผลิตก็คือ ทอนไม้ไผ่ออกเป็นท่อน ๆ ให้มีความยาวท่อนละ 50 – 100 เซนติเมตร จากนั้นก็นำเข้าเตาเผา 20 วัน ถัดมาก็จะนำถ่านออกมากองไว้หน้าเตา เพื่อแยกคัดเกรดถ่านและนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพประเภทต่าง ๆ เพื่อส่งจำหน่ายต่อไป โดยร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์ส่งจำหน่ายภายในประเทศส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 นั้นส่งออกต่างประเทศ แม้ศักยภาพในการผลิตจะมีความพร้อมสูงก็ตาม แต่ถูกจำกัดด้วยกฎระเบียบในการส่งออกถ่านไม้ไผ่ของทางราชการ
        “บันตัน” : ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ ผลิตถ่านเดือนละ 22 ตัน ต้องใช้ไม้ไผ่ประมาณเดือนละ 250 – 300 ตัน ไม้สด 1.5 ตัน ไม้น้ำส้มไม้ 35 – 45 ลิตร หรือเฉลี่ยประมาณ 30 ลิตรน้ำส้มไม้ต่อหนึ่งตันของไม้ไผ่
          ดู เหมือนกรรมวิธีการผลิตถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพจะไม่ยุ่งยาก แต่ในการปฏิบัติจริงนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดหรือฟังคำบอกเล่า เพราะต้องเริ่มตั้งแต่การก่อเตา การนำไม้เข้า การเรียงไม้ การควบคุมอุณหภูมิ ฯ ล ฯ ที่สำคัญที่สุดคือจะต้องเผาที่อุณหภูมิมาก ๆ อย่างต่ำต้อง 1,000 องศาเซลเซียส แต่โดยทั่วไปควรจะต้องสูงถึง 1,500 หรือ 1.700 องศาเซลเซียส
        ถ่านที่ได้เรียกว่า “ถ่านขาว” หรือ “White Charcoal” ซึ่งก็มีสีดำสนิทเหมือนถ่านทั่ว ๆ ไปนั่นเอง แต่ถ่านขาวหรือถ่านเพื่อสุขภาพซึ่งต้องเผาที่อุณหภูมิสูง ๆ และมีคุณภาพดีนั้น จะต้องไม่หนักหรือเบาเกินไป เมื่อเคาะถ่านจะมีเสียงดังกังวานคล้ายเสียงเคาะกระเบื้องเคลือบดินเผา เพราะมีความบริสุทธิ์ของธาตุคาร์บอนสูง เมื่อหักดูจะเห็นสีดำเป็นมันวาว และเมื่อใช้นิ้วถูรอยหัก จะไม่มีสีดำของถ่านติดนิ้วมือเลย ส่วนผิวถ่านอาจจะมีสีดำบ้างเล็กน้อย แต่ถ่านจะต้องไม่บวมพอง ไม่บิดเบี้ยวคดงอ ต้องคงรูปของวัตถุดิบเดิม คือ ลำไม้ไผ่อย่างชัดเจน
      ถ่านที่ว่านี้มี ความพรุนในระดับที่พอเหมาะพอควร สามารถปลดปล่อยประจุลบ ซึ่งจะเปลี่ยนอนุมูลอิสระให้เป็นออกซิเจน หากเข้าไปในร่างกายก็จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น ทำให้การไหลเวียนของระบบโลหิตในร่างกายและระบบการหายใจดีขึ้น สมองปลอดโปร่ง ส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจ
      ผลิตภัณฑ์จากถ่านไม้ไผ่ “บันตัน” นั้นมีมากมายนับสิบ ๆ รายการ แต่ที่เด่น ๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดมากในขณะนี้ได้แก่ หมอนถ่านไม้ไผ่ สบู่ถ่านล้างสารพิษ สบู่เหลวธรรมขาติถ่านไม้ไผ่ และแชมพูถ่านไม้ไผ่น้ำแร่
      หมอนถ่านไม้ไผ่ มีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น และความชื้น ให้ประจุลบและรังสีอินฟราเรด ช่วยให้ผ่อนคลาย สดชื่นและการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
      สบู่ถ่านล้างสารพิษ มีคุณสมบัติ สำหรับใช้ชะล้างสิ่งสกปรก ดูดสารพิษในรูขุมขน ขจัดเซลล์ที่ตาย ลดความมัน กำจัดเชื้อแบคทีเรีย ลดการเกิดสิว บำรุงผิวให้สดใส และนุ่มเนียน
    สบู่เหลวธรรมชาติถ่านไม้ไผ่ มีคุณค่าในการบำรุงผิวเพราะอุดมด้วยวิตามินและคุณสมบัติของประจุลบในถ่านไม้ ไผ่ ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก สารพิษ สารเคมีในรูขุมขน ขจัดเซลล์ที่ตาย รวมทั้งความมัน เชื้อแบคทีเรีย และลดการเกิดสิว
   แชมพูถ่านไม้ไผ่น้ำแร่ มีคุณสมบัติ ช่วยดูดซับสิ่งสกปรก ความมันส่วนเกินของเส้นผมและหนังศีรษะ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะ และเพิ่มการบำรุงด้วยน้ำแร่ ทำให้เส้นผมและหนังศีรษะมีสุขภาพดีขึ้น
       นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ถ่านเพื่อสุขภาพของ “บันตัน”  อีก หลายชนิด อาทิ ถ่านไม้ไผ่วาดรูปศิลปะ ถ่านไม้ไผ่ไอโอไนเซอร์ อโรมาสติก ถ่านไม้ไผ่ซอฟเท็นไรซ์ ถุงดับกลิ่นดีโดชูส์ สเปรย์สมุนไพรไล่แมลง ครีมบำรุงผิววิตามินอี โคลนถ่านไม้ไผ่ดูดสารพิษ ครีมนวดผมน้ำแร่ และน้ำแร่ถ่านไม้ไผ่ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณค่าสูงซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยคุ้นเคยแทบทั้งสิ้น
        นั่นคือ ผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี หรือ “บันตัน.” ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ถ่านยิ่งกว่าถ่านที่เราคุ้นเคยกันมาช้านาน
         หากถ่านจะเป็น “ฅนเอาถ่าน” และสนใจอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ คุณกิตติ เลิศล้ำ หรือ คุณอรอนงค์ เลิศล้ำ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 081 813 1935


คัดลอกจาก  นิตยสาร 
ไม่ลอง ไม่รู้
คอลัมน์ไม้เศรษฐกิจ  : คุณค่าของไม้ไผ่ที่คนไทยยังไม่คุ้นเคย
ฉบับที่  54  ประจำเดือน มกราคม  2549
เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก
 http://www.bantanthai.com

ประจุลบ ( Negative Ions )

ประจุลบ 
( Negative Ions )
     
          *** ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ถ่านที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  เท่า นั้น จึงจะสามารถให้กำเนิดและปลดปล่อยประจุ ลบ ( Negative Ions ) และ อิน ฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ***

           ประจุลบ ( Negative Ions ) มีผลดีร่างกาย สามารถที่จะเปลี่ยนอนุมูลอิสระให้กลายเป็น Oxygen ได้ โดยการเข้าไปจับตัวกับอนุมูลนั้น ๆ ซึ่งหากเกิดปฏิกิริยาเช่นนี้ขึ้นภายในร่างกายของเรา จะทำให้ Oxygen ภายในร่างกายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สมองปลอดโปร่งขึ้น ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น อันจะทำให้ร่างกายสามารถขับสารตกค้างต่าง ๆ ออกไปได้ง่ายขึ้น  สุขภาพร่างกายดี

           ประจุลบ ( Negative Ions ) มีผลดีร่างกาย ดังนี้ : -

          •    หลอดเลือดขยายตัว ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดอุดตันน้อยลง

          •    การไหลวนของเลือดดีขึ้น

          •    ความดันโลหิตสม่ำเสมอ

          •    โลหิตในร่างกายมีสถานะที่เหมาะสมมากขึ้น

          •    โครงสร้างกระดูกแข็งแรงขึ้น

          •    ระบบขับถ่ายดีขึ้น สารตกค้างในร่างกายถูกขับออกมาง่ายขึ้น

          •    ระบบการหายใจดีขึ้น

          •    ระบบการเผาผลาญพลังงาน ( Metabolism ) ดีขึ้น

          •    อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง

          •    ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรงขึ้น

          •    ระบบประสาทอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้นอนหลับง่าย นอนหลับลึกขึ้น จิตใจสุขุมขึ้น หายเหนื่อยเร็วขึ้น
 @@@@@@@@@@@@@@@@@
เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก
http://www.bantanthai.com

น้ำส้มสกัดจากควันไม้ไผ่ ( Bamboo Vinegar )


น้ำส้มสกัดจากควันไม้ไผ่
( Bamboo Vinegar )
          น้ำส้มสกัดจากควันไม้ไผ่ ( Bamboo Vinegar ) เป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่านไม้ไผ่ ภายใต้สภาพอับอากาศ ( Airless Condition ) เมื่อผ่านแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ไม้สดให้สัมผัสอากาศเย็น จะทำให้ไอกลั่นตัวลงจนเป็นของเหลว น้ำส้มสกัดจากควันไม้ไผ่ เป็นสารปรับปรุงดิน และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช ( Plant growth accelerating substances ) สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และควบคุมโรคพืชสาเหตุจากไส้เดือนฝอย ( Nematode ) เชื้อรา นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช น้ำส้มสกัดจากควันไม้ไผ่ ( Bamboo Vinegar ) มีสารประกอบทางเคมีมากกว่า 260 ชนิด ที่สำคัญ คือ
  •     กรดอะซิติก ( Acetic acid )
  •     ไนโตรเจน ( Nitrogen )
  •     ฟอสฟอรัส ( Phosphorus X
  •     โพตัสเซี่ยม.(Potassium )
  •     ฟอฺร์มาลดิไฮด์ ( Formaldehyde )
  •     เอธิล เอ็น วาเลอเรต ( Ethyl-n-valerate )
  •     เมทธานอล ( Methanol )
  •     น้ำมันทาร์ ( Tar )
  •     ฯลฯ

สารประกอบที่สำคัญในน้ำส้มควันไม้ไผ่
  •     กรดอะซิตริก เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
  •     สารประกอบฟีนอล เป็นสารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
  •     ฟอร์มอลดีไฮด์ เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช
  •     เอธิล เอ็น วาเลอเรด เป็นสารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตของพืช
  •     เมทธานอล เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
  •     น้ำมันทาร์ เป็นสารจับใบช่วยลดการใช้สารเคมี
คุณสมบัติของ น้ำส้มสกัดจากควันไม้ไผ่ ( Bamboo Vinegar )
  •     ช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  •     เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
  •     ช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
  •     ช่วยให้พืชออกดอกและติดผลง่ายขึ้น
  •     ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงต้านทานโรค
 
น้ำส้มควันไม้ไผ่ใช้ปรุงอาหาร
          วิธีใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ ใช้ฉีดพ่นใบพืช       ใช้ 2-3 ครั้ง หรือทุก 15 – 20 วัน ในช่วงฤดูการเพาะปลูกและเติบโตจนถึง 15 วันก่อนการเก็บเกี่ยว ในการใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวนั้น สารอินทรีย์ในน้ำส้มควันไม้ไผ่จะช่วยเร่งการหมักตัวของกรดอมิโนและน้ำตาล ซึ่งจะเพิ่มรสหวานและกลิ่นหอมของผลไม้       ในกรณีของผัก ฉีดน้ำส้มควันไม้ไผ่ก่อนเก็บเกี่ยว ช่วยให้คุณภาพและรสขาดดีขึ้น รวมทั้งชะลอการเหี่ยวเฉา สำหรับผักใบใช้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ก่อนเก็บเกี่ยว       กรณีผลไม้และผักกินใบที่ใช้เวลานานในการเก็บเกี่ยว ควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ 2 หรือ 3 ครั้ง ทุก 15 – 20 วัน เริ่มจากช่วงต้นของการเก็บเกี่ยว       สำหรับผลไม้เมื่อผลไม้โตเต็มที่และเริ่มสุก เช่น ส้มจีน เมื่อสีเริ่มเปลี่ยนควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ 1 – 2 ครั้ง ทุก 20 วัน จนถึง 15 วันก่อนเก็บเกี่ยว แนวทางการใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ :

      ความ เข้มข้น โดยทั่วไปการใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ควรเจือจางประมาณ 300 : 1 ถึง 1000 : 1 ความเข้มข้นที่มากกว่า 300 : 1 อาจส่งเสียต่อพืช ซึ่งอาจมีอาการดังนี้

    1.จุดบนใบ
    2.พืชหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว
    3.การเติบโตของตัวถูกเร่ง ชะลอการเติบโตของผล

          อาการใน . ข้อ 1 และข้อ 2 เป็นผลมาจากกรดชีวภาพในน้ำส้มควันไม้ไผ่ ข้อ 3 มาจากการที่ใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่มีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งสันดาป และการดูดซึมอาหารของพืช
          ข้อแนะนำก็คือควรทดลองใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ในพืชแต่ละชนิด และสังเกต 3 – 4 วัน ก่อนจะใช้อย่างเต็มที่ ควรใช้อย่างระมัดระวังในพืชที่มีความไวต่อสารเคมีและพืชใบอ่อน       ในการเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ไผ่ สามารถใช้ร่วมกับสาหร่ายทะเล ปลาหรือก้างปลาที่สกัดได้ โดยใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว จากที่ได้กล่าวมาแล้ว ใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ร่วมกับยาเคมีเกษตรจะมีประสิทธิภาพมากกว่าใช้แยกกัน และน้ำส้มควันไม้ไผ่สามารถที่จะใช้ร่วมกับกระเทียม ช่วยป้องกันแมลงและการติดเชื้อราได้ การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ร่วมกับยาเคมีเกษตร       สารเคมีเกษตรละลายได้ดี และทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในของเหลวที่มีค่า pH ประมาณ 4 – 5 ดังนั้นผสมน้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งเจือจางแล้ว 500 – 1000 เท่า จะทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และสามารถลดปริมาณการใช้ รวมถึงไม่จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยที่ทำให้สารเคมีติดอยู่กับพืช เนื่องจากน้ำมันทาร์ในน้ำส้มควันไม้ไผ่ได้ทำหน้าที่นี้แล้ว แต่น้ำส้มควันไม้ไผ่ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารที่เป็นด่าง การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ใช้ในการบำรุงดิน ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้
  •     ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง
  •     น้ำส้มควันไม้ไผ่เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช
  •     น้ำส้มควันไม้ไผ่ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม

       ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว โดยเฉพาะดินซึ่งเสื่อมคุณภาพ อันเกิดจากการเก็บเกี่ยวไม่ดี และการใช้สารเคมีเกินควร         น้ำส้มควันไม้ไผ่ที่ใช้ใส่ในดินควรมีความเข้มข้นสูงกว่าที่ใช้บนใบพืช น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งมีความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ถูกใช้ในปริมาณ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร โดยทั่วไปในการฆ่าเชื้อในดินปรือขจัดไส้เดือนฝอย ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้สามารถนำไปใช้ได้โดยปกติ การฆ่าเชื้อในดินควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งมีค่า pH 3 และมีความด่างจำเพาะ 1.014 และเจือจาง 8 เท่าตัว โดยใช้ปริมาณ 1 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร อย่างไรก็ดี ไส้เดือนฝอย มีความต้านทานสูง ต้องใช้เวลา 3 – 4 ปีเพื่อขจัดให้หมดสิ้น การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่สำหรับดินปลูกผัก        ให้ใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ ความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ก่อนปลูกโดยใช้ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร ควรจะให้น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึมลงในดินประมาณ 50 ซม. โดยจะทำก่อนหรือหลังการไถดินก็ได้        ควรใช้ปุ๋ยหมักก่อนใส่น้ำส้มควันไม้ไผ่ เนื่องจาก หากใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ก่อนอาจจะฆ่าจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยหมักก่อน และสุดท้ายพรวนลงไปร่วมกัน ควรใช้ปุ๋ยหมักและน้ำส้มควันไม้ไผ่ช่วยพัฒนาคุณภาพดินในระยะยาว การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่สำหรับไม้ผลและพืชที่ปลูกในกระถาง        กรณีไม้ผล ให้รดสิบจุดรอบต้นไม้ในบริเวณที่โดนฝน และมีรากเล็ก ควรเจือจางน้ำส้มควันไม้ไผ่ 30 – 50 เท่า และใช้ 500 ลิตรต่อ 1000 ตารางเมตร        กรณีไม้กระถาง ผสมน้ำส้มควันไม้ไผ่กับดินและทิ้งไว้ 10 – 15 วัน เพื่อระบายก๊าซออกก่อนใส่ในกระถาง การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ใช้ในการหมักปุ๋ย       ช่วยเร่งขบวนการหมักโดยเฉพาะมูลสุกรและมูลไก่ การหมักจะเร็วขึ้นถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิของปุ๋ยที่หมักมา 4 วัน จะสูงถึง 80 องศาเซลเซียส ถ้าใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ช่วย       ควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ที่เจือจาง 100 เท่า รดลงบนปุ๋ย แต่ควรระวังไม่ควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งเข้มข้นกว่านี้ เนื่องจากจะไปฆ่าเชื้อ       เมื่อรากพืชเป็นโรค ให้ใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่เจือจาง 100 – 200 เท่า รดที่โคนต้น ให้ชุ่มจนลึก 50 ซม. สำหรับมะเขือเทศและแตงกวา ให้ใช้ 1 – 2 ลิตรต่อต้น เพื่อเพิ่มความสดชื้นแข็งแรงและพัฒนาการของราก การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่เป็นตัวลดกลิ่นหรือเป็นอาหารเสริม

    การลดกลิ่นมูลสัตว์ ให้รดมูลสัตว์หรือพื้นคอกเลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำส้มควันไม้ไผ่เจือจาง 50 เท่าบ่อยครั้งเท่าที่จะทำได้
    น้ำส้มควันไม้ไผ่สามารถเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ โดยช่วยปรับระดับแบคทีเรียในลำใส่และอำนวยการดูดซึมสารอาหาร ทำให้เนื้อไก่มีสีชมพู และลดปริมาณน้ำในเนื้อไก่เหลือประมาณร้อยละ 3 ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพไก่โดยรวม

     เพราะน้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งได้ผ่านการกลั่นอย่างดีแล้วเท่านั้น จึงสามารถจะใช้กับสัตว์ได้ การผสมในอาหาร ให้ราดจนชุ่มบนรำข้าว ซึ่งขจัดไขมัน หลังจากนั้นผสมในอาหารสัตว์ในอัตราส่วน 99 ต่อ 1 ส่วนผสมนี้เหมาะสำหรับสัตว์ใหญ่
ข้อคิดเห็นโดยรวม :
  •     น้ำส้มควันไม้ทำหน้าที่เหมือนเป็นฮอร์โมน ช่วยในการเจริญเติบโต
  •     การให้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพจะได้ผลดีกับพืช
  •     การใช้น้ำส้มควันไม้กับผักที่กินผล หัว หน่อ ต้องใช้ถี่กว่าผักกินใบในการป้องกันเพลี้ย หนอน
  •     ถ้าใช้น้ำส้มฯอัตราที่เข้มข้นมาก จะทำให้ใบเหี่ยว แห้ง และตาย

    หากใช้น้ำส้มฯมีความเข้มข้นมากจะทำให้สัตว์ป่วย เช่น เกิดท้องร่วง เชื่องซึม ซึ่งแก้ได้โดย กรอกน้ำเปล่าให้กับสัตว์เลี้ยง หรือคั้นน้ำฟักเขียวสดกับน้ำเปล่ากรอก หรือตำปูนาผสมกับฟักเขียวคั้นกรองให้สัตว์กิน

น้ำส้มควันไม้ไผ่ดิบ
 น้ำส้มควันไม้กลั่น
          หมายเหตุ :-        ขบวน การผลิต ( ขั้นตอนการผลิต ) น้ำส้มควันไม้ ( Wood Vinegar) ได้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปหลากหลายรูปแบบ แต่คงต้องยอมรับความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่าแนวความคิดการเก็บน้ำส้มควันไม้ จากการเผาถ่านนั้นเราได้รับความคิดและกรรมวิธีเดิม ๆ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง น้ำส้มควันไม้มาก่อน ซึ่งกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นจะเผยแพร่เรื่องน้ำส้มควันไม้ออกมาสู่ผู้บริโภค อนู้ในปัจจุบัน ทั้งกรรมวิธีการผลิตและคุณประโยชน์ ได้ผ่านขบวนการลองผิดลองถูกมานานหลายสิบปี และยังได้ทำการวิจัยศึกษาค้นคว้าหาส่วนประกอบของน้ำส้มควันไม้ว่ามีองค์ ประกอบอะไรบ้าง มีสารประกอบกี่ชนิด มีคุณสมบัติอย่างไร มีวิธีใช้อย่างไร ซึ่งต้องใช้ขบวนการพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงพอสมควร นั่นคือต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือและความรู้เบื้องต้นก่อนจะเจาะลึกเข้าไป หาความรู้ใหม่ ๆ ของน้ำส้มควันไม้ได้       เอาแค่ขั้นตอนการผลิตหรือขั้นตอนการเก็บน้ำส้มควันไม้ ญี่ปุ่นได้มีการกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเลยว่า อุณหภูมิภายในเตาต้องเท่าไรจึงจะได้ส่วนที่เป็นน้ำส้ม อุณหภูมิที่เท่าใดที่จะต้องหยุดเก็บ อูณหภูมิที่เริ่มขบวนการเผาถ่านควันที่ถูกปล่อยออกมาสามารถเก็บเอาน้ำที่เรา ทำให้กลั่นตีวเป็นหยดน้ำได้หรือไม่ เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยความรู้จริง ๆ จึงจะได้น้ำส้มควันไม้ ที่ได้มาตรฐาน ( ส่วนประกอบของเนื้อไม้ที่สำคัญ คือ :-      1. คาร์บอน      2. กรด      3. ด่าง      ซึ่งมีลักษณะเป็นของแข็งและของเหลวประกอบกันอยู่ ) แต่ถ้าขาดความรู้เบื้องต้นเหล่านี้แล้วพากันโมเมว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นคือ น้ำส้มควันไม้ ก็จะเจอปัญหาหรือคำถามที่ว่า  ทำไมน้ำส้มควันไม้ที่ชาวบ้านผลิตได้ในปัจจุบัน เมื่อนำไปวิเคราะห์ทดสอบเบื้องต้นจึงมีค่าเป็นด่าง ( ค่า pH สูง ) ซึ่งตามมาตรฐานญี่ปุ่นนั้น น้ำส้มควันไม้ ต้องมีค่าเป็นกรด วัดค่า pH ไม่เกิน 3.5 โดยประมาณ อย่างนี้เป็นต้น

      จึงเป็นที่น่าเสียดายที่น้ำส้มควันไม้ ที่ผลิตกันในบ้านเราอยู่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเชื่อถือเท่าที่ ควร เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการนี่เอง  เมื่อนำไปใช้แล้วไม่ได้ประโยชน์แถมยังเกิดโทษเสียอีก เพราะเท่ากับเราไปเพิ่มค่าความเป็นด่างให้กับสภาพแวดล้อม

************************
เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก
http://www.bantanthai.com

Activated Bamboo Charcoal


Activated Bamboo Charcoal
       Improve the air and humidity in your home with Activated Bamboo Charcoal !
       Bamboo Charcoal is a unique product that has been used in China, Japan, Korea, and other Asian countries on a daily basis for years and years to deodorize and absorb moisture and odors, and it's finally available in the USA!
      This Multipurpose Activated Bamboo Charcoal Carbon for around the house is super absorptive and will keep your house smelling clean and fresh! Use it to neutralize, deodorize, and control unpleasant odors and regulate humidity in your refrigerator, pantry shelves, bathroom, basement, closets, drawers, storage boxes, laundry room, and anywhere else bad odors exist! Improve the indoor environment in your home...control odors, regulate humidity, and improve air quality with activated bamboo charcoal! Made from sustainable bamboo in South Korea.

     Bamboo Activated Charcoal Product Features:
* AIR FILTRATION : Absorbs harmful chemicals and substances from the air.
* DEODORIZATION : Absorbs odors from around the house including bedrooms, closets, bathrooms, the fridge, laundry room, garage, basement, etc.
* RELAXATION : Releases negative ions that freshen the air and FAR infrared radiation that helps you relax, eases joint pain, and improves circulation.
* HUMIDITY REGULATION : Absorbs excess moisture in the air, and then releases moisture when the air becomes too dry, helping to regulate overall humidity levels in the room.
* ELECTROMAGNETIC SHIELDING : Many electrical appliances emit electromagnetic radiation that can raise your body temperature and cause backaches. Bamboo Charcoal absorbs this radiation, helping to improve the environment in your home and office.
Legal Disclaimer: These statements have not been evaluated by the Food and Drug Administration. These products are not intended to diagnose, treat, cure, or prevent any disease.
     Culture Note: In Asia, a special, edible grade of Bamboo Charcoal is used to purify water, reduce acid levels in baked goods, teas, and drinks, and as an herbal remedy for stomach problems. In bath and skin care products, such as bamboo charcoal soap, shampoo, and body scrubs, it absorbs oil, whitens skin, cleans pores, and exfoliates! Health Note: There are different grades of bamboo charcoal, so unless the label says edible or medicinal grade, don't ingest it!

**************************

ศึกษาข้อมูลเพิ่มที่ : http://www.getek.com.tw/yellowpage/catalog/magic_power_bac.pdf
ที่มา : http://www.bambooya.com/activated-bamboo-charcoal-carbon.html

เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก
http://www.bantanthai.com

ถ่านไม้ไผ่ ( Bamboo Charcoal )

 
 หลักคิดเพื่อชึวิตมีสุข
วิถีชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงหนี้สิน
อยู่ กิน อย่างไท ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
และ
ชีวิตมีสุขได้ไม่ยาก หากรู้จักพอ
ทำให้ดี ให้ถูกต้อง
มีสติ รู้ตัว มีปัญญารู้คิด
คิดเองเป็น ทำเองได้
มีความรู้ มีคุณธรรม

************
ข้อคิดของเรา
เราไม่ได้ขายสินค้า...แต่เรากำลังขายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
เราไม่ได้ขายสินค้า...แต่เรากำลังขายชื่อเสียงหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ
เราจึงต้อง...ผลิตแต่สินค้าที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน

************
หลักธรรมประจำใจ
ของ
บ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี
( สัมมาอาชีวะธรรมสถาน )
คือ
เลิศคุณธรรม   ล้ำคุณภาพ
เราคือต้นตำหรับ
ผลิตภัณฑ์
" ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ "
 ตรา
" บันตัน "
 " Bunton "


@@@@@@@@@@@@@@@@@

ถ่านไม้ไผ่
( Bamboo Charcoal ) 
     เมื่อกล่าวถึง " ถ่าน " หลายคนคงจะนึกถึงชิ้นไม้ดำๆ ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มอาหารในครัวเรือนเท่านั้น แต่จริงแล้วถ่านมีสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถดูดซับกลิ่นเหม็นอับไม่พึ่งประสงค์ต่างๆ ได้  ซึ่ง จะเห็นจากการนำถ่านมาใส่ไว้ในตู้เย็น ทำให้ตู้เย็นไม่มีกลิ่นเหม็นคาว ใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้า และตู้โชว์ เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นอับ

     สิ่งที่ทำให้ถ่านมีความ สามารถในการดูดซับกลิ่นได้ โดยเฉพาะ  ถ่านไม้ไผ่ (Bamboo Charcoal) เนื่องจาก โครงสร้างของ ถ่านไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นรูพรุนเล็กๆ มากมาย  โดยกลิ่นเหม็นอับต่างๆ จะแพร่เข้ารูพรุนเหล่านี้ ทำให้เกิดการดูดซับกลิ่นเหล่านั้นไว้ตามผนังและในรูพรุน หากถ่านมีรูพรุนมากๆก็จะทำให้ดูดซับกลิ่นได้มากตามไปด้วย

     บ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี  คือผู้ริเริ่มผลิตถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่นและจีนขึ้น ในประเทศไทยเป็นรายแรก  ซึ่งก่อนหน้านั้นคนไทยอาจ รู้จักถ่านไม้ไผ่ว่าเป็นถ่านเชื้อเพลิงที่ให้ความร้อนสูงไฟแรง  ใช้กันในหมู่ช่างตีเหล็กเป็นส่วนใหญ่แต่ก็เป็นเพียงการ กล่าวถึงเท่านั้นหาดูถ่านไม้ไผ่ดังกล่าวได้ยากมาก  เหตุผล สำคัญคือไม้ไผ่เผาให้เป็นถ่านได้ยาก  จึงไม่มีการเผา ถ่านไม้ไผ่ให้เห็นในบ้านเรา  ได้ยินเพียงการกล่าวขาน ถึงถ่านไม้ไผ่ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เท่านั้น

     หลังจาก บ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี ได้เปิดตัวให้คนไทยได้รู้จักและ ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ  ทำให้เป็นที่สนใจของผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ขณะ เดียวกันก็เริ่มมีผู้สนใจผลิตถ่านไม้ไผ่ควบคู่ไปกับการเก็บน้ำส้มควันไม้มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการผลิตถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูง จึงทำให้คุณภาพของถ่านไม้ไผ่ที่ผลิตไ ต่ำกว่ามาตรฐาน  ( เทียบกับมาตรฐานของญี่ปุ่นและจีน )

**************
 ถ่านไม้ไผ่่
( Bamboo Charcoal )
ถ่านไม้ไผ่ ตามมาตรฐานของญี่ปุ่นและจีนแบ่งไว้เป็น 2 เกรด  คือ : -
     
      1.  เกรด  1 หรือ 1st grade ( White Charcoal )  เป็นถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงใช้กรรมวิธี การผลิตและอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  เหมาะสำหรับใช้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพ  มีคุณสมบัติที่ดีต่อมนุษย์  สัตว์  สิ่งแวดล้อม  ทั้งโดยตรงและโดย อ้อม

    2.  เกรด ปกติทั่วไป หรือ Regulation grade ( Black Charcoal )  เป็นถ่านที่ใช้ กรรมวิธีการผลิตและอุณหภูมิภายในเตาต่ำกว่า 1,000 ºC  เหมาะ สำหรับใช้เป็นถ่านเชื้อเพลิง หุงต้มอาหารและถ่านเพื่อให้พลังงานความร้อนอื่น ๆ  แต่ ไม่ควรนำไปประกอบอาหารประเภท ปิ้ง  ย่าง  บาร์บีคิว  ยากิโตริ ( ไก่เสียบไม้ย่าง ) เพราะค่าของถ่านคงที่ ( Fixed  Carbon  ) ไม่ถึงหรือน้อยกว่า  85 %

*** ข้อมูลโดยละเอียดได้นำมาเสนอในเรื่อง ของถ่านไม้ไผ่ข้างล่างนี้  โดยอ้างอิงจากข้อมูลของ ญี่ปุ่นและจีนเป็นหลัก ***

**************
 ถ่านไม้ไผ่่
( Bamboo Charcoal )
     ถ่านไม้ไผ่ (Bamboo Charcoal) ภาษาญี่ปุ่นเรียก ทาเคะสึมิ (takezumi)  หรือ คิคุตัน (tikutan) ทำมาจากไม้ไผ่ ( Bamboo ) เป็นถ่านที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  มี คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์  สัตว์  ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมากมาย

     ถ่านไม้ไผ่ ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า  1,000 ºC  แตกต่างไปจากถ่านทั่วไป  หรือแม้แต่ถ่านขาว ( White Charcoal )  หรือบินโจตัน ( Binchotan )  ที่มีผลิตกันมากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน  ปัจจุบันประเทศจีนปิดป่าจึงไม่มีการผลิตถ่าน ทั้งสองชนิดนี้แล้ว

     ถ่านไม้ไผ่  ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  มีลักษณะพิเศษ  ดังนี้ :-

  • มีรูพรุนมากกว่า  หาก นำมาแผ่กระจายออกเป็นพื้นที่จะได้พื้นที่มากถึง 300 ถึง 700  ตร.ม / กรัม ( ถ่านไม้ทั่วไป จะได้พื้นที่ประมาณ  50  ตร.ม / กรัม  )
  • มีค่าความด้านทานไฟฟ้า ( Resistance ) ต่ำ  ( ไม่เกิน 100 โอห์ม )
  • มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย

     ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการวิจัยถ่านไม้ไผ่ ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  พบ ว่ามีคุณสมบัติพิเศษ  สามารถให้กำเนิดและปลดปล่อย ประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray )

     จากคุณสมบัติดังกล่าว ถ่านไม้ไผ่ จึงถูกนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพในหลากหลายรูปแบบ เป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่นและมีราคาแพง เช่น :-

1. ใช้เป็นวัสดุตบแต่งบ้านเรือน  ( Decorate ) ช่วยฟอกอากาศ  ดูดกลิ่น ( Deodorizing ) ความชิ้น ( Moisture )  ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

 1.1 ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ในปริมาณที่เหมาะสมกับพื้นที่

2. ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง  ลดการเน่าเสียของน้ำ  ช่วยบำบัดน้ำเสีย เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ

2.1 ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาตรน้ำ

3. แช่ในถังน้ำดื่ม ช่วยดูดซับคลอรีน และสิ่งที่มีพิษ  เพิ่ม แร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

3.1 ทำความสะอาดถ่านไม้ไผ่ด้วยแปรงหรือฟองน้ำ ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานเด็ดขาด

3.2 ต้มถ่านไม้ไผ่ที่ล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำเดือดประมาก 10 นาที

3.3 นำออกมาวางไว้ปล่อยให้แห้ง  ไม่ควรนำออกตากแดด

3.4 ใช้ถ่านไม้ไผ่ 100 กรัม ( 1 ชิ้น ) ต่อน้ำ 1 ลิตรแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2 ~ 3  ชั่วโมง  น้ำจะมีคุณสมบัติเหมือน น้ำแรธรรมชาติหรือดีกว่า

3.5 หลังจากใช้ถ่านไม้ไผ่ในน้ำดื่มครบ 1 อาทิตย์  ควรนำ ออกมาต้มด้วยน้ำเดือด  และสามารถใช้ได้ 1 เดือนต่อถ่านไม้ไผ่ 100 กรัม

4. ใส่หม้อหุงข้าวขณะที่หุงข้าว  ช่วยดูดซับคลอรีน กลิ่นเหม็นอับของข้าวสารเก่า และสิ่งที่มีพิษ  เพิ่ม แร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เพิ่มรสและความนุ่มให้ข้าวสุก

4.1 ทำความสะอาดถ่านไม้ไผ่ด้วยแปรงหรือฟองน้ำ ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานเด็ดขาด

4.2 ต้มถ่านไม้ไผ่ที่ล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำเดือดประมาก 10 นาที

4.3 นำออกมาวางไว้ปล่อยให้แห้ง  ไม่ควรนำออกตากแดด

4.4 ใช้ถ่านไม้ไผ่ 300 กรัม ( 3 ชิ้น ) ต่อข้าว 1 หม้อ

4.5 ใช้ได้ 10 ~ 15 ครั้ง

5. ใส่ในอ้างอาบน้ำ ช่วยดูดซับคลอรีน และสิ่งที่มีพิษ เพิ่มแร่ธาตุ  และ ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ชำระล้างผิวหนัง  กระตุ้น การการไหลวนของเลือด  ช่วยให้ร่างกายสดชื่น

5.1 บรรจุถ่านไม้ไผ่ 300 กรัม  ในถุงตาข่าย

5.2 แช่ถุงถ่านลงในอ่างอาบน้ำ

5.3 เพิ่มอุณหภูมิของน้ำให้อุ่น

5.4 เอาถุงถ่านออกจากอ่างเมื่ออาบน้ำเสร็จ

5.6 ถ่านไม้ไผ่ 1 ถุงใช้ได้ 2 เดือน

6. ใส่ไว้ในที่นอน ไต้เตียง ในห้องนอน ช่วยฟอกอากาศ  ดูดกลิ่น  ความ ชิ้น  ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ กระตุ้นการการไหลวนของเลือด  จิต ใจสงบเย็นในขณะพักผ่อนและช่วยให้นอนหลับได้ดี ร่างกายสดชื่น

6.1 ห้องขนาด 3.2 ม. x 3.2 ม. ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ 3 กก./ห้อง

7. ดูดซับและหักเหคลื่นไฟฟ้า  ( Absorption of Electromagnetic Wave )  ช่วยดูดซับและหักเหคลื่นไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกมาจาก  ทีวี  คอมพิวเตอร์  จอมอนิเตอร์  อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิด ใช้งานอยู่ภายในบ้านและสถานที่ทำงาน  ดูดซับลดการแผ่ กระจายของคลื่นไฟฟ้าจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ

8. ฟอกและปรับอากาศ ใต้เตียงนอน และใต้อาคารบ้านเรือน ช่วย ดูดซับความชิ้นในฤดูที่มีความ ชื้นสูง  และคลายความชิ้นในฤดูที่มีความแห้งแล้ง

9. ใช้ผสมอาหารสัตว์ ช่วย เพิ่มแร่ธาตุ  ดูดซับสารพิษ  กำจัดแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร  ลด กลิ่นเหม็นของมูลสัตว์

10. ใช้ผสมดินเพื่อการเพาะปลูก  ช่วย ปรับสภาพของดิน  เพิ่ม แร่ธาตุที่พืชต้องการ

11. ใส่ในตู้เย็น ช่วยกูดกลิ่น และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ช่วยให้ผักสดเก็บไว้ได้นานวันขึ้น ถ่านไม้ไม้จะดูดซับก๊าชที่ผักและผลไม้คายออกมาซึ่งมีผลให้ผักและผลไม้เน่า เสีย

12. ใส่ในถังข้าวสาร ช่วยกูดกลิ่น ความชื้น และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ป้องกันมอด และแมลงต่าง ๆ

13. ใสไว้ในแจกันหรือกระถางดอกไม้ ทำ ให้เกิดออกไซด์ เพิ่มออกซิเจนและแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ ให้กับน้ำในแจกันหรือกระถางดอกไม้

14. ใส่ในตู้กระจกหรืออ่างเลี้ยงปลา  ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ ทำให้น้ำใสสะอาด  ช่วย เร่งการตกตะกอนของฝุ่นละอองในน้ำ

15. ทำห้องบำบัดสุขภาพ  ช่วย ฟอกอากาศภายในห้อง ดูดกลิ่น   ( Deodorizing)  ความชิ้น (Moisture) ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ


นอกจากนั้นยังใช้ถ่านไม้ไผ่เป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้อีกมากมายหลายชนิด  เช่น  สบู่  แชมพู  ยา สีฟัน  ถ่านเม็ดดูดสารพิษ ฯลฯ


๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก

http://www.bantanthai.com