วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ไผตง ภาษาพื้นถิ่น (ลาวปราจีน) เรียก " ไผ่พุง "


ไผตง ภาษาพื้นฐิ่น (ลาวปราจีน) เรียก " ไผ่พุง " พยายามชยายพันธ์เพื่ออนุรักษ์ไว้ โดยการแยกเหง้า่จากกอเดิมที่ปลูกมาตั้งแตาสมัยตา กอเดิมเกิดมาก็เห็นแล้ว อายุไม่ต่ำกว่า 70 ปั

เพราะไม่มีความรู้เรื่องการปลูกและขยายพันธ์ไผ่ อีกทั้งยังไม่ใช้ปุ๋ยเคมีโดยสิ้นเชิง มีให้ปุ๋ยคอก (ขี้ควาย) บ้าง จึงทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างเชื่องช้า

กอที่เห็น ลงดินเมื่อ 2 ปีที่่แล้ว ได้ผลอย่างที่เห็น แต่ก็ดีใจที่เริมแตกหน่อบ้างแล้ว


**************** 
เฒ่าเผาถ่าน พิทักษ์โลก

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

น้ำส้มควันไม้ ( Wood Vinegar )


น้ำส้มควันไม้
( Wood Vinegar ) 

น้ำส้มควันไม้  เป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่านไม้ ภายใต้สภาพอับอากาศ ( Airless Condition ) เมื่อผ่านแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ไม้สดให้สัมผัสอากาศเย็น จะทำให้ไอกลั่นตัวลงจนเป็นของเหลว

น้ำส้มควันไม้ เป็นสารปรับปรุงดิน และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช ( Plant growth accelerating substances ) สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และควบคุมโรคพืชสาเหตุจากไส้เดือนฝอย ( Nematode ) เชื้อรา นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช

น้ำส้มควันไม้
มีสารประกอบทางเคมีมากกว่า 260 ชนิด ที่สำคัญ คือ
  1. กรดอะซิติก ( Acetic acid )
  2. ไนโตรเจน ( Nitrogen )
  3. ฟอสฟอรัส ( Phosphorus X
  4. โพตัสเซี่ยม.(Potassium )
  5. ฟอฺร์มาลดิไฮด์ ( Formaldehyde )
  6. เอธิล เอ็น วาเลอเรต ( Ethyl-n-valerate )
  7. เมทธานอล ( Methanol )
  8. น้ำมันทาร์ ( Tar )
         ฯลฯ

สารประกอบที่สำคัญในน้ำส้มควันไม้
  • กรดอะซิตริก เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
  • สารประกอบฟีนอล เป็นสารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
  • ฟอร์มอลดีไฮด์ เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช
  • เอธิล เอ็น วาเลอเรด เป็นสารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตของพืช
  • เมทธานอล เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
  • น้ำมันทาร์ เป็นสารจับใบช่วยลดการใช้สารเคมี

คุณสมบัติของ น้ำส้มสกัดจากควันไม้
  • ช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  • เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
  • ช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
  • ช่วยให้พืชออกดอกและติดผลง่ายขึ้น
  • ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงต้านทานโรค
      
น้ำส้มควันไม้ ได้จากการกลั่นตัวของควันที่เกิดจากขบวนการเผาถ่าน ในสภาพเตาเผาที่อัปอากาศ ภายได้การควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม มีส่วนผสมของน้ำ 80 % และมีสารประกอบ 80 ~ 260 ชนิด หรือแยกตามชนิดดังนี้ .
 
Compound %
organic acid 32
phenoli  compound 40
aldehyde 3
alkone  compound 5
alcohol  compound 5
ester  compound 4
others 5
ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ( pH value  ) 2.5 ~ 4.0

*********************
กรด-ด่าง พีเอช pH คืออะไร
  ค่า ที่ แสดงปริมาณหรือความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนในน้ำ (Hydrogen or hydronium ion: H+ or H3O+) ซึ่งเกิดจากสารที่สามารถแตกตัวให้อนุมูลกรด(H+)หรือด่าง(OH-)ได้
ความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH มีค่าตั้งแต่ 0 - 14
สภาพเป็นกรด (Acid) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH ต่ำกว่า 7
สภาพเป็นด่าง/เบส (Base) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH มากกว่า 7

สภาพเป็นกลาง (Neutral) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH เท่ากับ 7
สาร pH
กรดสารพิษจากเหมืองร้าง
-3.6 - 1.0
กรดจากแบตเตอรี
-0.5
กรดในกระเพาะอาหาร
1.5 - 2.0
เลมอน
2.4
Coke
2.5
น้ำส้มสายชู
2.9
ส้ม หรือ แอปเปิล
3.5
เบียร์
4.5
ฝนกรด
< 5.0
กาแฟ
5.0
ชา
5.5
นม
6.5
น้ำบริสุทธิ์
7.0
น้ำลายมนุษย์
6.5 - 7.4
เลือด
7.34 - 7.45
น้ำทะเล
8.0
สบู่ล้างมือ
9.0 - 10.0
แอมโมเนีย (ยาสามัญประจำบ้าน)
11.5
น้ำยาปรับผ้านุ่ม
12.5
โซดาไฟ
13.5

*********************
วิธีใช้น้ำส้มควันไม้

ใช้ฉีดพ่นใบพืช
  • ใช้ 2-3 ครั้ง หรือทุก 15 – 20 วัน ในช่วงฤดูการเพาะปลูกและเติบโตจนถึง 15 วันก่อนการเก็บเกี่ยว ในการใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวนั้น สารอินทรีย์ในน้ำส้มควันไม้จะช่วยเร่งการหมักตัวของกรดอมิโนและน้ำตาล ซึ่งจะเพิ่มรสหวานและกลิ่นหอมของผลไม้
  • ในกรณีของผัก ฉีดน้ำส้มควันไม้ก่อนเก็บเกี่ยว ช่วยให้คุณภาพและรสขาดดีขึ้น รวมทั้งชะลอการเหี่ยวเฉา สำหรับผักใบใช้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ก่อนเก็บเกี่ยว
  • กรณีผลไม้และผักกินใบที่ใช้เวลานานในการเก็บเกี่ยว ควรใช้น้ำส้มควันไม้ 2 หรือ 3 ครั้ง ทุก 15 – 20 วัน เริ่มจากช่วงต้นของการเก็บเกี่ยว
  • สำหรับผลไม้เมื่อผลไม้โตเต็มที่และเริ่มสุก เช่น ส้มจีน เมื่อสีเริ่มเปลี่ยนควรใช้น้ำส้มควันไม้ 1 – 2 ครั้ง ทุก 20 วัน จนถึง 15 วันก่อนเก็บเกี่ยว

แนวทางการใช้น้ำส้มควัน

ความ เข้มข้น โดยทั่วไปการใช้น้ำส้มควันไม้ควรเจือจางประมาณ 300 : 1 ถึง 1000 : 1 ความเข้มข้นที่มากกว่า 300 : 1 อาจส่งเสียต่อพืช ซึ่งอาจมีอาการดังนี้
  1. จุดบนใบ
  2. พืชหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว
  3. การเติบโตของตัวถูกเร่ง ชะลอการเติบโตของผล

อาการใน .
ข้อ 1 และข้อ 2 เป็นผลมาจากกรดชีวภาพในน้ำส้มควันไม้
ข้อ 3 มาจากการที่ใช้น้ำส้มควันไม้มีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งสันดาป และการดูดซึมอาหารของพืช

ข้อแนะนำก็คือควรทดลองใช้น้ำส้มควันไม้ในพืชแต่ละชนิด และสังเกต 3 – 4 วัน ก่อนจะใช้อย่างเต็มที่ ควรใช้อย่างระมัดระวังในพืชที่มีความไวต่อสารเคมีและพืชใบอ่อน
 
ในการเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ สามารถใช้ร่วมกับสาหร่ายทะเล ปลาหรือก้างปลาที่สกัดได้ โดยใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว จากที่ได้กล่าวมาแล้ว ใช้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับยาเคมีเกษตรจะมีประสิทธิภาพมากกว่าใช้แยกกัน และน้ำส้มควันไม้สามารถที่จะใช้ร่วมกับกระเทียม ช่วยป้องกันแมลงและการติดเชื้อราได้

การใช้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับยาเคมีเกษตร
ยาเคมีเกษตรละลายได้ดี และทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในของเหลวที่มีค่า pH ประมาณ 4 – 5 ดังนั้นผสมน้ำส้มควันไม้ซึ่งเจือจางแล้ว 500 – 1000 เท่า จะทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และสามารถลดปริมาณการใช้ รวมถึงไม่จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยที่ทำให้สารเคมีติดอยู่กับพืช เนื่องจากน้ำมันทาร์ในน้ำส้มควันไม้ได้ทำหน้าที่นี้แล้ว แต่น้ำส้มควันไม้ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารที่เป็นด่าง

การใช้น้ำส้มควันไม้ใช้ในการบำรุงดิน  

ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้
  • ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง
  • น้ำส้มควันไม้ไผ่เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช
  • น้ำส้มควันไม้ไผ่ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม
ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว โดยเฉพาะดินซึ่งเสื่อมคุณภาพ อันเกิดจากการเก็บเกี่ยวไม่ดี และการใช้สารเคมีเกินควร
 
น้ำส้มควันไม้ที่ใช้ใส่ในดินควรมีความเข้มข้นสูงกว่าที่ใช้บนใบพืช น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งมีความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ถูกใช้ในปริมาณ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร โดยทั่วไปในการฆ่าเชื้อในดินปรือขจัดไส้เดือนฝอย ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้สามารถนำไปใช้ได้โดยปกติ การฆ่าเชื้อในดินควรใช้น้ำส้มควันไม้ซึ่งมีค่า pH 3 และมีความด่างจำเพาะ 1.014 และเจือจาง 8 เท่าตัว โดยใช้ปริมาณ 1 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร อย่างไรก็ดี ไส้เดือนฝอย มีความต้านทานสูง ต้องใช้เวลา 3 – 4 ปีเพื่อขจัดให้หมดสิ้น

การใช้น้ำส้มควันไม้สำหรับดินปลูกผัก
ให้ใช้น้ำส้มควันไม้ ความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ก่อนปลูกโดยใช้ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร ควรจะให้น้ำส้มควันไม้ซึมลงในดินประมาณ 50 ซม. โดยจะทำก่อนหรือหลังการไถดินก็ได้

ควรใช้ปุ๋ยหมักก่อนใส่น้ำส้มควันไม้ เนื่องจากหากใช้น้ำส้มควันไม้ก่อนอาจจะฆ่าจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยหมักก่อน และสุดท้ายพรวนลงไปร่วมกัน ควรใช้ปุ๋ยหมักและน้ำส้มควันไม้ช่วยพัฒนาคุณภาพดินในระยะยาว

การใช้น้ำส้มควันไม้สำหรับไม้ผลและพืชที่ปลูกในกระถาง
กรณีไม้ผล ให้รดสิบจุดรอบต้นไม้ในบริเวณที่โดนฝน และมีรากเล็ก ควรเจือจางน้ำส้มควันไม้ 30 – 50 เท่า และใช้ 500 ลิตรต่อ 1000 ตารางเมตร
 
กรณีไม้กระถาง ผสมน้ำส้มควันไม้ไผ่กับดินและทิ้งไว้ 10 – 15 วัน เพื่อระบายก๊าซออกก่อนใส่ในกระถาง

การใช้น้ำส้มควันไม้ใช้ในการหมักปุ๋ย
ช่วยเร่งขบวนการหมักโดยเฉพาะมูลสุกรและมูลไก่ การหมักจะเร็วขึ้นถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิของปุ๋ยที่หมักมา 4 วัน จะสูงถึง 80 องศาเซลเซียส ถ้าใช้น้ำส้มควันไม้ช่วย
 
ควรใช้น้ำส้มควันไม้ที่เจือจาง 100 เท่า รดลงบนปุ๋ย แต่ควรระวังไม่ควรใช้น้ำส้มควันไม้ซึ่งเข้มข้นกว่านี้ เนื่องจากจะไปฆ่าเชื้อ
 
เมื่อรากพืชเป็นโรค ให้ใช้น้ำส้มควันไม้เจือจาง 100 – 200 เท่า รดที่โคนต้น ให้ชุ่มจนลึก 50 ซม. สำหรับมะเขือเทศและแตงกวา ให้ใช้ 1 – 2 ลิตรต่อต้น เพื่อเพิ่มความสดชื้นแข็งแรงและพัฒนาการของราก

การใช้น้ำส้มควันไม้เป็นตัวลดกลิ่นหรือเป็นอาหารเสริม
  1. การลดกลิ่นมูลสัตว์ ให้รดมูลสัตว์หรือพื้นคอกเลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำส้มควันไม้เจือจาง 50 เท่าบ่อยครั้งเท่าที่จะทำได้
  2. น้ำส้มควันไม้สามารถเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ โดยช่วยปรับระดับแบคทีเรียในลำใส่และอำนวยการดูดซึมสารอาหาร ทำให้เนื้อไก่มีสีชมพู และลดปริมาณน้ำในเนื้อไก่เหลือประมาณร้อยละ 3 ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพไก่โดยรวม
เพราะน้ำส้มควันไม้ซึ่งได้ผ่านการกลั่นอย่างดีแล้วเท่านั้น จึงสามารถจะใช้กับสัตว์ได้ การผสมในอาหาร ให้ราดจนชุ่มบนรำข้าว ซึ่งขจัดไขมัน หลังจากนั้นผสมในอาหารสัตว์ในอัตราส่วน 99 ต่อ 1 ส่วนผสมนี้เหมาะสำหรับสัตว์ใหญ่

ข้อคิดเห็นโดยรวม :
  • น้ำส้มควันไม้ทำหน้าที่เหมือนเป็นฮอร์โมน ช่วยในการเจริญเติบโต
  • การให้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพจะได้ผลดีกับพืช
  • การใช้น้ำส้มควันไม้กับผักที่กินผล หัว หน่อ ต้องใช้ถี่กว่าผักกินใบในการป้องกันเพลี้ย หนอน
  • ถ้าใช้น้ำส้มฯอัตราที่เข้มข้นมาก จะทำให้ใบเหี่ยว แห้ง และตาย
  • หากใช้น้ำส้มฯมีความเข้มข้นมากจะทำให้สัตว์ป่วย เช่น เกิดท้องร่วง เชื่องซึม ซึ่งแก้ได้โดย กรอกน้ำเปล่าให้กับสัตว์เลี้ยง หรือคั้นน้ำฟักเขียวสดกับน้ำเปล่ากรอก หรือตำปูนาผสมกับฟักเขียวคั้นกรองให้สัตว์กิน

หมายเหตุ :- ขบวน การผลิต ( ขั้นตอนการผลิต ) น้ำส้มควันไม้ ( Wood Vinegar) ได้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปหลากหลายรูปแบบ แต่คงต้องยอมรับความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่าแนวความคิดการเก็บน้ำส้มควันไม้ จากการเผาถ่านนั้นเราได้รับความคิดและกรรมวิธีเดิม ๆ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง น้ำส้มควันไม้มาก่อน ซึ่งกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นจะเผยแพร่เรื่องน้ำส้มควันไม้ออกมาสู่ผู้บริโภค อนู้ในปัจจุบัน ทั้งกรรมวิธีการผลิตและคุณประโยชน์ ได้ผ่านขบวนการลองผิดลองถูกมานานหลายสิบปี และยังได้ทำการวิจัยศึกษาค้นคว้าหาส่วนประกอบของน้ำส้มควันไม้ว่ามีองค์ ประกอบอะไรบ้าง มีสารประกอบกี่ชนิด มีคุณสมบัติอย่างไร มีวิธีใช้อย่างไร ซึ่งต้องใช้ขบวนการพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงพอสมควร นั่นคือต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือและความรู้เบื้องต้นก่อนจะเจาะลึกเข้าไป หาความรู้ใหม่ ๆ ของน้ำส้มควันไม้ได้
 

เอาแค่ขั้นตอนการผลิตหรือขั้นตอนการเก็บน้ำส้มควันไม้ ญี่ปุ่นได้มีการกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเลยว่า อุณหภูมิภายในเตาต้องเท่าไรจึงจะได้ส่วนที่เป็นน้ำส้ม อุณหภูมิที่เท่าใดที่จะต้องหยุดเก็บ อูณหภูมิที่เริ่มขบวนการเผาถ่านควันที่ถูกปล่อยออกมาสามารถเก็บเอาน้ำที่เรา ทำให้กลั่นตีวเป็นหยดน้ำได้หรือไม่ เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยความรู้จริง ๆ จึงจะได้น้ำส้มควันไม้ ที่ได้มาตรฐาน ( ส่วนประกอบของเนื้อไม้ที่สำคัญ คือ :- 1.คาร์บอน 2. กรด 3. ด่าง ซึ่งมีลักษณะเป็นของแข็งและของเหลวประกอบกันอยู่ ) แต่ถ้าขาดความรู้เบื้องต้นเหล่านี้แล้วพากันโมเมว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นคือ น้ำส้มควันไม้ ก็จะเจอปัญหาหรือคำถามที่ว่า
 

ทำไมน้ำส้มควันไม้ที่ชาวบ้านผลิตได้ในปัจจุบัน เมื่อนำไปวิเคราะห์ทดสอบเบื้องต้นจึงมีค่าเป็นด่าง ( ค่า pH สูง ) ซึ่ง  ตามมาตรฐานญี่ปุ่นนั้น น้ำส้มควันไม้ ต้องมีค่าเป็นกรด วัดค่า pH ไม่เกิน 3.5 โดยประมาณ อย่างนี้เป็นต้น
 

จึงเป็นที่น่าเสียดายที่น้ำส้มควันไม้ ที่พากันเก็บในบ้านเราอยู่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเชื่อถือเท่าที่ ควร เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการนี่เอง
เมื่อนำไปใช้แล้วไม่ได้ประโยชน์แถมยังเกิดโทษเสียอีก เพราะเท่ากับเราไปเพิ่มค่าความเป็นด่างให้กับสภาพแวดล้อม
 

จึงต้องขอแสดงความเห็นมา ณ.ที่นี้เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาศึกษาเรียนรู้เรื่องน้ำส้มควันไม้ให้เกิด ความรู้ที่เป็นสาระประโยชน์จริง ๆ กันเสียที
 

ไม่ อยากให้คนไทย ประเทศไทย เป็นเช่นนี้ต่อไป คือไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามคนไทยเราขี้มักจะรู้ไปหมด ทำเหมือนรู้มากเสียด้วย แต่รู้จริงแค่ไหนไม่มีใครรู้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอวดรู้เสียมากกว่า ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาครอบครัว พัฒนาชุมชน พัฒนาท้องถิ่น และพัฒนาประเทศ ผิดทิศผิดทางกันไปหมด


********************* 
เฒ่าเผาถ่าน

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

หมอนถ่านและกุงถ่านไม้ไผ่ " บันตัน "

หมอนถ่านและกุงถ่านไม้ไผ่ " บันตัน " ภายในบรรจุด้วยถ่านไม้ไผ่ที่เผาด้วยอุณหภูมิมากกว่า 1000 เซลเซียส ค่าความต้านทานต่ำกว่า 100 โอห์ม จึงมั่นใจได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากถ่านไม้ไผ่ไที่ได้มาตรฐานและคุณภาพเทียบเท่าถ่านไม้ไผ่ของญี่ปุ่นและจีน














วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

 น้ำส้มควันไม้ไผ่
 ( Bamboo Vinegar )


     น้ำส้มควันไม้ไผ่  เป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่านไม้ไผ่ ภายใต้สภาพอับอากาศ ( Airless Condition ) เมื่อผ่านแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ไม้สดให้สัมผัสอากาศเย็น จะทำให้ไอกลั่นตัวลงจนเป็นของเหลว      น้ำส้มควันไม้ไผ่ เป็นสารปรับปรุงดิน และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช ( Plant growth accelerating substances ) สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และควบคุมโรคพืชสาเหตุจากไส้เดือนฝอย ( Nematode ) เชื้อรา นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช น้ำส้มสกัดจากควันไม้ไผ่ มีสารประกอบทางเคมีมากกว่า 260 ชนิด ที่สำคัญ คือ :-
  1. กรดอะซิติก ( Acetic acid )
  2. ไนโตรเจน ( Nitrogen )
  3. ฟอสฟอรัส ( Phosphorus )
  4. โพตัสเซี่ยม.(Potassium )
  5. ฟอฺร์มาลดิไฮด์ ( Formaldehyde )
  6. เอธิล เอ็น วาเลอเรต ( Ethyl-n-valerate )
  7. เมทธานอล ( Methanol )
  8. น้ำมันทาร์ ( Tar )     ฯลฯ

สารประกอบที่สำคัญในน้ำส้มควันไม้ไผ่

  1. กรดอะซิตริก เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
  2. สารประกอบฟีนอล เป็นสารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
  3. ฟอร์มอลดีไฮด์ เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช
  4. เอธิล เอ็น วาเลอเรด เป็นสารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตของพืช
  5. เมทธานอล เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
  6. น้ำมันทาร์ เป็นสารจับใบช่วยลดการใช้สารเคมี

คุณสมบัติของ น้ำส้มสกัดจากควันไม้ไผ่

  • ช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  • เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
  • ช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
  • ช่วยให้พืชออกดอกและติดผลง่ายขึ้น
  • ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงต้านทานโรค

วิธีใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่

ใช้ฉีดพ่นใบพืช  ใช้ 2-3 ครั้ง หรือทุก 15 – 20 วัน ในช่วงฤดูการเพาะปลูกและเติบโตจนถึง 15 วันก่อนการเก็บเกี่ยว ในการใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวนั้น สารอินทรีย์ในน้ำส้มควันไม้ไผ่จะช่วยเร่งการหมักตัวของกรดอมิโนและน้ำตาล ซึ่งจะเพิ่มรสหวานและกลิ่นหอมของผลไม้

     ในกรณีของผัก ฉีดน้ำส้มควันไม้ไผ่ก่อนเก็บเกี่ยว ช่วยให้คุณภาพและรสขาดดีขึ้น รวมทั้งชะลอการเหี่ยวเฉา สำหรับผักใบใช้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ก่อนเก็บเกี่ยว

     กรณีผลไม้และผักกินใบที่ใช้เวลานานในการเก็บเกี่ยว ควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ 2 หรือ 3 ครั้ง ทุก 15 – 20 วัน เริ่มจากช่วงต้นของการเก็บเกี่ยว

     สำหรับผลไม้เมื่อผลไม้โตเต็มที่และเริ่มสุก เช่น ส้มจีน เมื่อสีเริ่มเปลี่ยนควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ 1 – 2 ครั้ง ทุก 20 วัน จนถึง 15 วันก่อนเก็บเกี่ยว

แนวทางการใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ :

  • ความเข้มข้น โดยทั่วไปการใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ควรเจือจางประมาณ 300 : 1 ถึง 1000 : 1
  • ความเข้มข้นที่เจือจางน้อยกว่า 300 : 1 อาจส่งเสียต่อพืช ซึ่งอาจมีอาการดังนี้
  1. จุดบนใบ
  2. พืชหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว
  3. การเติบโตของตัวถูกเร่ง ชะลอการเติบโตของผล

อาการใน . ข้อ 1 และข้อ 2 เป็นผลมาจากกรดชีวภาพในน้ำส้มควันไม้ไผ่
                ข้อ 3 มาจากการที่ใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่มีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งสันดาป และการดูดซึมอาหารของพืช

     ข้อแนะนำก็คือควรทดลองใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ในพืชแต่ละชนิด และสังเกต 3 – 4 วัน ก่อนจะใช้อย่างเต็มที่ ควรใช้อย่างระมัดระวังในพืชที่มีความไวต่อสารเคมีและพืชใบอ่อน

     ในการเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ไผ่ สามารถใช้ร่วมกับสาหร่ายทะเล ปลาหรือก้างปลาที่สกัดได้ โดยใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว จากที่ได้กล่าวมาแล้ว ใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ร่วมกับยาเคมีเกษตรจะมีประสิทธิภาพมากกว่าใช้แยกกัน และน้ำส้มควันไม้ไผ่สามารถที่จะใช้ร่วมกับกระเทียม ช่วยป้องกันแมลงและการติดเชื้อราได้ การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ร่วมกับยาเคมีเกษตร

     สารเคมีเกษตรละลายได้ดี และทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในของเหลวที่มีค่า pH ประมาณ 4 – 5 ดังนั้นผสมน้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งเจือจางแล้ว 500 – 1000 เท่า จะทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และสามารถลดปริมาณการใช้ รวมถึงไม่จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยที่ทำให้สารเคมีติดอยู่กับพืช เนื่องจากน้ำมันทาร์ในน้ำส้มควันไม้ไผ่ได้ทำหน้าที่นี้แล้ว แต่น้ำส้มควันไม้ไผ่ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารที่เป็นด่าง

การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ใช้ในการบำรุงดิน ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้

  1. ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง
  2. เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช
  3. ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม

     ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว โดยเฉพาะดินซึ่งเสื่อมคุณภาพ อันเกิดจากการเก็บเกี่ยวไม่ดี และการใช้สารเคมีเกินควร      น้ำส้มควันไม้ไผ่   ที่ใช้ใส่ในดินควรมีความเข้มข้นสูงกว่าที่ใช้บนใบพืช      น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งมีความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ถูกใช้ในปริมาณ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร โดยทั่วไปในการฆ่าเชื้อในดินปรือขจัดไส้เดือนฝอย ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้สามารถนำไปใช้ได้โดยปกติ การฆ่าเชื้อในดินควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งมีค่า pH 3 และมีความด่างจำเพาะ 1.014 และเจือจาง 8 เท่าตัว โดยใช้ปริมาณ 1 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร อย่างไรก็ดี ไส้เดือนฝอย มีความต้านทานสูง ต้องใช้เวลา 3 – 4 ปีเพื่อขจัดให้หมดสิ้น

การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่สำหรับดินปลูกผัก

     ให้ใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ ความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ก่อนปลูกโดยใช้ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร ควรจะให้น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึมลงในดินประมาณ 50 ซม. โดยจะทำก่อนหรือหลังการไถดินก็ได้      ควรใช้ปุ๋ยหมักก่อนใส่น้ำส้มควันไม้ไผ่ เนื่องจาก หากใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ก่อนอาจจะฆ่าจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยหมักก่อน และสุดท้ายพรวนลงไปร่วมกัน ควรใช้ปุ๋ยหมักและน้ำส้มควันไม้ไผ่ช่วยพัฒนาคุณภาพดินในระยะยาว

การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่สำหรับไม้ผลและพืชที่ปลูกในกระถาง

     กรณีไม้ผล ให้รดสิบจุดรอบต้นไม้ในบริเวณที่โดนฝน และมีรากเล็ก ควรเจือจางน้ำส้มควันไม้ไผ่ 30 – 50 เท่า และใช้ 500 ลิตรต่อ 1000 ตารางเมตร      กรณีไม้กระถาง ผสมน้ำส้มควันไม้ไผ่กับดินและทิ้งไว้ 10 – 15 วัน เพื่อระบายก๊าซออกก่อนใส่ในกระถาง การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ใช้ในการหมักปุ๋ย      ช่วยเร่งขบวนการหมักโดยเฉพาะมูลสุกรและมูลไก่ การหมักจะเร็วขึ้นถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิของปุ๋ยที่หมักมา 4 วัน จะสูงถึง 80 องศาเซลเซียส ถ้าใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ช่วย     ควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ที่เจือจาง 100 เท่า รดลงบนปุ๋ย แต่ควรระวังไม่ควรใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งเข้มข้นกว่านี้ เนื่องจากจะไปฆ่าเชื้อ       เมื่อรากพืชเป็นโรค ให้ใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่เจือจาง 100 – 200 เท่า รดที่โคนต้น ให้ชุ่มจนลึก 50 ซม. สำหรับมะเขือเทศและแตงกวา ให้ใช้ 1 – 2 ลิตรต่อต้น เพื่อเพิ่มความสดชื้นแข็งแรงและพัฒนาการของราก

การใช้น้ำส้มควันไม้ไผ่เป็นตัวลดกลิ่นหรือเป็นอาหารเสริม    

  1. การลดกลิ่นมูลสัตว์ ให้รดมูลสัตว์หรือพื้นคอกเลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำส้มควันไม้ไผ่เจือจาง 50 เท่าบ่อยครั้งเท่าที่จะทำได้    
  2. น้ำ ส้มควันไม้ไผ่สามารถเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ โดยช่วยปรับระดับแบคทีเรียในลำใส่และอำนวยการดูดซึมสารอาหาร ทำให้เนื้อไก่มีสีชมพู และลดปริมาณน้ำในเนื้อไก่เหลือประมาณร้อยละ 3 ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพไก่โดยรวม      เพราะน้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งได้ผ่านการกลั่นอย่างดีแล้วเท่านั้น จึงสามารถจะใช้กับสัตว์ได้ การผสมในอาหาร ให้ราดจนชุ่มบนรำข้าว ซึ่งขจัดไขมัน หลังจากนั้นผสมในอาหารสัตว์ในอัตราส่วน 99 ต่อ 1 ส่วนผสมนี้เหมาะสำหรับสัตว์ใหญ่

ข้อคิดเห็นโดยรวม

  1. น้ำส้มควันไม้ทำหน้าที่เหมือนเป็นฮอร์โมน ช่วยในการเจริญเติบโต
  2. การให้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพจะได้ผลดีกับพืช
  3. การใช้น้ำส้มควันไม้กับผักที่กินผล หัว หน่อ ต้องใช้ถี่กว่าผักกินใบในการป้องกันเพลี้ย หนอน
  4. ถ้าใช้น้ำส้มฯอัตราที่เข้มข้นมาก จะทำให้ใบเหี่ยว แห้ง และตาย
  5. หาก ใช้น้ำส้มฯมีความเข้มข้นมากจะทำให้สัตว์ป่วย เช่น เกิดท้องร่วง เชื่องซึม ซึ่งแก้ได้โดย กรอกน้ำเปล่าให้กับสัตว์เลี้ยง หรือคั้นน้ำฟักเขียวสดกับน้ำเปล่ากรอก หรือตำปูนาผสมกับฟักเขียวคั้นกรองให้สัตว์กิน
 
 
      หมายเหตุ :- ขบวน การผลิต ( ขั้นตอนการผลิต ) น้ำส้มควันไม้ ( Wood Vinegar) ได้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปหลากหลายรูปแบบ แต่คงต้องยอมรับความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่าแนวความคิดการเก็บน้ำส้มควันไม้ จากการเผาถ่านนั้น   เราได้รับความคิดและกรรมวิธีการเก็บน้ำส้มควันไม้ จากประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง น้ำส้มควันไม้มาก่อน  ซึ่งกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นจะเผยแพร่เรื่องน้ำส้มควันไม้ออกมาสู่ผู้บริโภค อนู้ในปัจจุบัน ทั้งกรรมวิธีการผลิตและคุณประโยชน์ ได้ผ่านขบวนการลองผิดลองถูกมานานหลายสิบปี และยังได้ทำการวิจัยศึกษาค้นคว้าหาส่วนประกอบของน้ำส้มควันไม้ว่ามีองค์ ประกอบอะไรบ้าง มีสารประกอบกี่ชนิด มีคุณสมบัติอย่างไร มีวิธีใช้อย่างไร ซึ่งต้องใช้ขบวนการพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงพอสมควร นั่นคือต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือและความรู้เบื้องต้นก่อนจะเจาะลึกเข้าไป หาความรู้ใหม่ ๆ ของน้ำส้มควันไม้ได้

     ขั้นตอนการผลิตหรือขั้นตอนการเก็บน้ำส้มควันไม้ ญี่ปุ่นได้มีการกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเลยว่า อุณหภูมิภายในเตาต้องเท่าไรจึงจะได้ส่วนที่เป็นน้ำส้ม อุณหภูมิที่เท่าใดที่จะต้องหยุดเก็บ อูณหภูมิที่เริ่มขบวนการเผาถ่าน   ควันที่ถูกปล่อยออกมาสามารถเก็บเอาน้ำที่เราทำให้กลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้หรือ ไม่   เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยความรู้จริง ๆ จึงจะได้น้ำส้มควันไม้ ที่ได้มาตรฐาน

ส่วนประกอบของเนื้อไม้ที่สำคัญ คือ :-   

  1. คาร์บอน
  2. กรด
  3. ด่าง     

ซึ่งมีลักษณะเป็นของแข็งและของเหลวประกอบกันอยู่

     แต่ถ้าขาดความรู้เบื้องต้นเหล่านี้แล้วพากันโมเมว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นคือ น้ำส้มควันไม้ ก็จะเจอปัญหาหรือคำถามที่ว่า  ทำไมน้ำส้มควันไม้ที่ชาวบ้านผลิตได้ในปัจจุบัน เมื่อนำไปวิเคราะห์ทดสอบเบื้องต้นจึงมีค่าเป็น " ด่าง " ( ค่า pH สูง )   ซึ่งตามมาตรฐานญี่ปุ่นนั้น น้ำส้มควันไม้ ต้องมีค่าเป็นกรด วัดค่า pH ไม่เกิน 3.5 โดยประมาณ อย่างนี้เป็นต้น

     จึงเป็นที่น่าเสียดายที่น้ำส้มควันไม้ ที่พากันเก็บในบ้านเราอยู่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเชื่อถือเท่าที่ ควร    เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการนี่เอง เมื่อนำไปใช้แล้วไม่ได้ประโยชน์แถมยังเกิดโทษเสียอีก เพราะเท่ากับเราไปเพิ่มค่าความเป็นด่างให้กับสภาพแวดล้อม

     จึงต้องขอแสดงความเห็นมา ณ.ที่นี้เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาศึกษาเรียนรู้เรื่องน้ำส้มควันไม้   ให้เกิดความรู้ที่เป็นสาระประโยชน์จริง ๆ กันเสียที 

" ไม่ต้องการให้คนไทย ประเทศไทย เป็นเช่นนี้ต่อไป คือไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามคนไทยเราขี้มักจะรู้ไปหมด ทำเหมือนรู้มากเสียด้วย แต่รู้จริงแค่ไหนไม่มีใครรู้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอวดรู้เสียมากกว่า ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาครอบครัว พัฒนาชุมชน พัฒนาท้องถิ่น และพัฒนาประเทศ ผิดทิศผิดทางกันไปหมด "


*********
 น้ำส้มควันไม้

 ( Wood Vinegar )

     น้ำส้มควันไม้  เป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่านไม้ ภายใต้สภาพอับอากาศ ( Airless Condition ) เมื่อผ่านแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ไม้สดให้สัมผัสอากาศเย็น จะทำให้ไอกลั่นตัวลงจนเป็นของเหลว     มีค่าความเป็นกรดสูง  มีแร่ธาตุมากว่า 260 ชนืด เช่น :-
  • กรดอะซิติก ( Acetic acid )
  • ไนโตรเจน ( Nitrogen )
  • ฟอสฟอรัส ( Phosphorus )
  • โพตัสเซี่ยม.(Potassium )
  • ฟอฺร์มาลดิไฮด์ ( Formaldehyde )
  • เอธิล เอ็น วาเลอเรต ( Ethyl-n-valerate )
  • เมทธานอล ( Methanol )
  • และ น้ำมันทาร์ ( Tar ) เป็นต้น

น้ำส้มควันไม้  มีประโยชน์ทางการเกษตร  การแพทย์ ปศุสัตว์  และผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม

     หมายเหตุ. :- เนื่องจากปัจจุบันทีผู้ผลิตน้ำส้มควันไม้กันอย่างแพร่หลาย  ทั้งที่ผลิตเพื่อใช้เองภายในครอบครัวหรือชุมชนและผลิตเพื่อจำหน่าย  ผู้ผลิตแต่ละรายมีกรรมวิธีและประสบการณ์การผลิตแตกต่างกัน  ทำให้ “ น้ำส้มควันไม้ ” ที่ผลิตได้มีคุณสมบัติแตกต่างกัน

     ขบวนการและขั้นตอนการผลิตรวมทั้งมาตรฐานคุณภาพของ
น้ำส้มควันไม้  ยังไม่มีหน่วยงานใดหรือองค์กรใดรับผิดชอบควบคุมและดูแลรวมทั้งให้การสนับสนุน  ทำให้ น้ำส้มควันไม้ ที่ผลิตกันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันมีคุณภาพต่ำ  ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้โดยเฉพาะเกษตรกร  ยิ่งไปกว่านั้นมีผู้ใช้และเกษตรกรบางรายที่ทดลองใช้ น้ำส้มควันไม้  ได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณสมบัติของ น้ำส้มควันไม้ ไปในทางลบ  คือใช้แล้วไม่ได้ผลไม่มีประโยชน์ใด ๆ และยังมีโทษอีกด้วย

     นักวิชาการจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ  ที่ทำงานศึกษาเกี่ยวกับผลิตชุมชน  ได้ทำการวิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติของ
น้ำส้มควันไม้ พบว่าส่วนใหญ่มีค่าเป็น “ ด่าง ”  คือ.ค่า PH. มากกว่า  7

     จากผลการตรวจวิเคราะห์และทดลองดังกล่าวจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า “ น้ำส้มควันไม้  ” ที่มีการผลิตกันอย่างแพร่หลายอยู่ในบ้านเราในปัจจุบันยังไม่ได้มาตรฐาน  และไม่มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ในการใช้งาน

     มาตรฐานของ 
น้ำส้มควันไม้  ที่เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล  ต้องยึดเอามาตรฐาน  “ น้ำส้มควันไม้  ” ของประเทศญี่ปุ่นและจีนเป็นอย่างต่ำ  เพราะประเทศญี่ปุ่นและจีนได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยกันมาอย่างจริงจังและต่อ เนื่อง      ใน  น้ำส้มควันไม้ 1 ลิตร  จะมีส่วนผสมของน้ำอยู่ประมาณ  80 ~ 90  %  และจะมีสารประกอบต่าง ๆ  ซึ่งค่าเป็นกรดอยู่ประมาณ  10 ~ 20  %  และค่า  PH. value ประมาณ  2.5 ~ 4.0      หากวิเคราะห์และทอสอบแยกส่วนหาส่วนประกอบของสารต่าง ๆ จะพบว่ามีมากกว่า 260 ชนิด.
*********
 ประจุลบ

 ( Negative Ions )

*** ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ถ่านที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  เท่า นั้น จึงจะสามารถให้กำเนิดและปลดปล่อยประจุ ลบ ( Negative Ions ) และ อิน ฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ***

     ประจุลบ ( Negative Ions ) มีผลดีร่างกาย สามารถที่จะเปลี่ยนอนุมูลอิสระให้กลายเป็น Oxygen ได้ โดยการเข้าไปจับตัวกับอนุมูลนั้น ๆ ซึ่งหากเกิดปฏิกิริยาเช่นนี้ขึ้นภายในร่างกายของเรา จะทำให้ Oxygen ภายในร่างกายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สมองปลอดโปร่งขึ้น ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น อันจะทำให้ร่างกายสามารถขับสารตกค้างต่าง ๆ ออกไปได้ง่ายขึ้น  สุขภาพร่างกายดี

การอยู่ภายในท้องที่มีถ่านไม้ไผ่ นาน ๆ จะช่วยให้

  • หลอดเลือดขยายตัว ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดอุดตันน้อยลง
  • การไหลวนของเลือดดีขึ้น
  • ความดันโลหิตสม่ำเสมอ
  • โลหิตในร่างกายมีสถานะที่เหมาะสมมากขึ้น
  • โครงสร้างกระดูกแข็งแรงขึ้น
  • ระบบขับถ่ายดีขึ้น สารตกค้างในร่างกายถูกขับออกมาง่ายขึ้น
  • ระบบการหายใจดีขึ้น
  • ระบบการเผาผลาญพลังงาน ( Metabolism ) ดีขึ้น ·  อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ·  ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรงขึ้น
  • ระบบประสาทอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้นอนหลับง่าย นอนหลับลึกขึ้น จิตใจสุขุมขึ้น หายเหนื่อยเร็วขึ้น
***  ข้อมูลคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของถ่านไม้ไผ่  อ้างอิงจากการศึกษาค้นคว้าและวิจัยของประเทศญี่ปุ่นและจีน  และกรรมวิธีการผลิตของเราก็ใช้กรรมวิธีการผลิต  ขบวนการ  ขั้นตอน  และมาตรฐานการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น  เราได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของญี่ปุ่นจากผู้ชำนาญชาวญี่ปุ่นโดย ตรง  และเราได้ฝึกฝนเพิ่มพูนความชำนาญ  ประสบการณ์และกรรมวิธีการผลิตให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและวัตถุดิบคือ " ไผ่ตง " ที่ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจอยู่ในท้องถิ่น  เราได้ต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของญี่ปุ่นจนถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาของเรา เอง  ที่เราได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  ผลการทดสอบวิเคราะห์ถ่านไม้ไผ่ที่เราผลิตโดยสถาบันวิจัยที่เชื่อถือได้  สามารถรับรองได้ว่าถ่านไม้ไผ่ที่เราผลิตอยู่ในปัจจุบัน ได้มาตรฐานเทียบเท่าหรือดีกว่าถ่านไม้ไผ่ที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นและจีน จึงมั่นใจได้ว่าสามารถอ้างอิงกับผลการศึกษาค้นคว้าและวิจัยของ ประเทศญี่ปุ่นและจีนได้

*********

ถ่านไม้ไผ่ ( Bamboo Charcoal )

  ถ่านไม้ไผ่

 ( Bamboo Charcoal ) 
 

     เมื่อกล่าวถึง " ถ่าน " หลายคนคงจะนึกถึงชิ้นไม้ดำๆ ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มอาหารในครัวเรือนเท่านั้น แต่จริงแล้วถ่านมีสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถดูดซับกลิ่นเหม็นอับไม่พึ่งประสงค์ต่างๆ ได้  ซึ่ง จะเห็นจากการนำถ่านมาใส่ไว้ในตู้เย็น ทำให้ตู้เย็นไม่มีกลิ่นเหม็นคาว ใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้า และตู้โชว์ เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นอับ

     สิ่งที่ทำให้ " ถ่าน " มีความ สามารถในการดูดซับกลิ่นได้ โดยเฉพาะ  ถ่านไม้ไผ่ เนื่องจาก โครงสร้างของ ถ่านไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นรูพรุนเล็กๆ มากมาย  โดยกลิ่นเหม็นอับต่างๆ จะแพร่เข้ารูพรุนเหล่านี้ ทำให้เกิดการดูดซับกลิ่นเหล่านั้นไว้ตามผนังและในรูพรุน หากถ่านมีรูพรุนมากๆก็จะทำให้ดูดซับกลิ่นได้มากตามไปด้วย

     บ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี  คือผู้ริเริ่มผลิตถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่นและจีนขึ้น ในประเทศไทยเป็นรายแรก  ซึ่งก่อนหน้านั้นคนไทยอาจ รู้จักถ่านไม้ไผ่ว่าเป็นถ่านเชื้อเพลิงที่ให้ความร้อนสูงไฟแรง  ใช้กันในหมู่ช่างตีเหล็กเป็นส่วนใหญ่แต่ก็เป็นเพียงการ กล่าวถึงเท่านั้นหาดูถ่านไม้ไผ่ดังกล่าวได้ยากมาก  เหตุผล สำคัญคือไม้ไผ่เผาให้เป็นถ่านได้ยาก  จึงไม่มีการเผา ถ่านไม้ไผ่ให้เห็นในบ้านเรา  ได้ยินเพียงการกล่าวขาน ถึงถ่านไม้ไผ่ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เท่านั้น

     หลังจาก บ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี ได้เปิดตัวให้คนไทยได้รู้จักและ ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ  ทำให้เป็นที่สนใจของผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ขณะ เดียวกันก็เริ่มมีผู้สนใจผลิตถ่านไม้ไผ่ควบคู่ไปกับการเก็บน้ำส้มควันไม้มาก ขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการผลิตถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูง  จึงทำให้คุณภาพของถ่านไม้ไผ่ที่ผลิตได้ ต่ำกว่ามาตรฐาน  ( เทียบกับมาตรฐานของญี่ปุ่นและจีน )

     ที่กล่าวเช่นนี้เพราะได้รับคำยืนยัน จากนักวิชาการประจำกรมวิทยาศาสตร์บริการว่า  ผลการ ตรวจวิเคราะห์และทดสอบหาค่า ความสามารถดูดซับไอโอดีน  และ การหาค่า ความชื้น  จาก ตัวอย่างถ่านไม้ไผ่ที่มีผู้ผลิตจากแหล่งต่าง ๆ  ส่งมาให้ตรวจวิเคราะห์และทดสอบ  ปรากฏ ว่าต่ำกว่ามาตรฐาน  คือ มีค่าไอโอดีน ตำกว่า  150  มิลลิกรัม / กรัม ( มผช. 180 /2546 ) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานของญี่ปุ่นและจีน


  
    ผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่  " บันตัน " ที่ผลิตโดย บ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี มีความสามารถดูดซับไอโอดีน (ซึ่งใช่ในการวิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติของถ่านดูดกลิ่น) สามารถดูดซับไอโอดีนได้มากถึง   333 มิลลิกรัม / กรัม      มากกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนดไว้ คือ มากกว่า 150 มิลลิกรัม / กรัม ( มผช. 180 /2546 )


Bamboo Charcoal Components
Volatile Oganic Componebt Physical Characteristics ( Typical )

   PH  Value 9.9
   Carbon ( WT % )  9.15
  Ashes ( WT % )  5.90
  Capacity ( g/ml )  0.60
  Iodine Absorption  Value ( mg/g ) 301




ที่มา : http://www.mtmeru.com/bamboo-charcoal/about-bamboo-charcoal.html 



       ถ่านไม้ไผ่ที่ผลิตโดย บ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี มีค่า Iodine Absorption  Value 333 mg/g



     ถ่านไม้ไผ่  ภาษาญี่ปุ่นเรียก ทาเคะสึมิ (takezumi)  หรือ คิคุตัน (tikutan) ทำมาจากไม้ไผ่ ( Bamboo ) เป็นถ่านที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า  1,000 ºC   มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์  สัตว์  ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมากมาย

     ถ่านไม้ไผ่  ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า  1,000 ºC  แตกต่างไปจากถ่านทั่วไป  หรือแม้แต่ถ่านขาว ( White Charcoal )  หรือบินโจตัน ( Binchotan )  ที่มีผลิตกันมากในประเทศญี่ปุ่นและ จีน  ปัจจุบันประเทศจีนปิดป่าจึงไม่มีการผลิตถ่าน ทั้งสองชนิดนี้แล้ว

     ถ่านไม้ไผ่  ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  มีลักษณะพิเศษ  ดังนี้ :-
  • มีรูพรุนมากกว่า  หาก นำมาแผ่กระจายออกเป็นพื้นที่จะได้พื้นที่มากถึง 300 ถึง 700  ตร.ม / กรัม ( ถ่านไม้ทั่วไป จะได้พื้นที่ประมาณ  50  ตร.ม / กรัม  )
  • มีค่าความด้านทานไฟฟ้า ( Resistance ) ต่ำ  ( ไม่เกิน 100 โอห์ม )
  • มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย
     จีนและญี่ปุ่น ได้ ทำการวิจัยถ่านไม้ไผ่ ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  พบ ว่ามีคุณสมบัติพิเศษ  สามารถให้กำเนิดและปลดปล่อย
  • ประจุลบ ( Negative Ions ) และ
  • อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray )
มาตรฐานของจีนแบ่งไว้เป็น 2 เกรด  คือ : -

     1. 
1st grade  (  เกรด  1 )  เป็นถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงใช้กรรมวิธี การผลิตและอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  เหมาะสำหรับใช้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพ  มีคุณสมบัติที่ดีต่อมนุษย์  สัตว์  สิ่งแวดล้อม  ทั้งโดยตรงและโดย อ้อม

ตามตารางที่ 1
Physical and Chemical Indexes of Bamboo Charcoal  


 Items  1st grade
 Fixed carbon  ≥ 85.0 (%)
 Volatile matter  ≤ 10.0 (%)
 Ash  ≤ 3.0 (%)
 Moisture  ≤ 8.5 (%)
 PH value  ≥ 7.5
 No-carbonized matter  Eligibility

     2.
Regulation grade   (  เกรด  ปกติทั่วไป )  เป็นถ่านที่ใช้ กรรมวิธีการผลิตและอุณหภูมิภายในเตาต่ำกว่า 1,000 ºC  เหมาะ สำหรับใช้เป็นถ่านเชื้อเพลิง หุงต้มอาหารและถ่านเพื่อให้พลังงานความร้อนอื่น ๆ  แต่ ไม่ควรนำไปประกอบอาหารประเภท ปิ้ง  ย่าง  บาร์บีคิว  ยากิโตริ ( ไก่เสียบไม้ย่าง ) เพราะค่าของถ่านคงที่ ( Fixed  Carbon  ) ไม่ถึงหรือน้อยกว่า  85 %
ตามตารางที่ 2
Physical and Chemical Indexes of Bamboo Charcoal
 Items  Regulation grade
 Fixed carbon  ≥ 75.0 (%)
 Volatile matter  ≤ 20.0 (%)
 Ash  ≤ 4.5 (%)
 Moisture  ≤ 12.0 (%)
 PH value  ≥ 7.0
 No-carbonized matter  Eligibity


มาตรฐานของญี่ปุ่นแบ่งชนิดของถ่านไม้ไผ่ไว้เป็น 2 เกรด  คือ : -

  1.  White Charcoa; หรือ Bincho Tan  ( ถ่านขาว )  เป็นถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงใช้กรรมวิธี การผลิตและอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  เหมาะสำหรับใช้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพ  มีคุณสมบัติที่ดีต่อมนุษย์  สัตว์  สิ่งแวดล้อม  ทั้งโดยตรงและโดย อ้อม 

ตามตารางที่ 3
Bamboo Charcoal Specifications
  Items  (%)
 Fixed Carbon  85
 Volatile Matter  ≤ 8.0
 Ash Content  ≤ 4.0
 Moisture Content  ≤ 5.0
     2. Black Charcoal  ( ถ่านดำ ) เป็นถ่านที่ใช้ กรรมวิธีการผลิตและอุณหภูมิภายในเตาระหว่า 400 ºC  ถึง 700 ºC  เหมาะ สำหรับใช้เป็นถ่านเชื้อเพลิง หุงต้มอาหารและถ่านเพื่อให้พลังงานความร้อนอื่น ๆ  แต่ ไม่ควรนำไปประกอบอาหารประเภท ปิ้ง  ย่าง  บาร์บีคิว  ยากิโตริ ( ไก่เสียบไม้ย่าง ) เพราะค่าของถ่านคงที่ ( Fixed  Carbon  ) ไม่ถึงหรือน้อยกว่า  85 %

   
 
      *** ข้อมูลโดยละเอียดได้นำมาเสนอในเรื่อง ของถ่านไม้ไผ่ทั้งหมดนี้ อ้างอิงจากข้อมูลของ ญี่ปุ่นและจีนเป็นหลัก

    
     จากคุณสมบัติดังกล่าว ถ่านไม้ไผ่ จึงถูกนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพในหลากหลายรูปแบบ เป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่นและมีราคาแพง เช่น :-

1. ใช้เป็นวัสดุตบแต่งบ้านเรือน  ( Decorate ) ช่วยฟอกอากาศ  ดูดกลิ่น ( Deodorizing ) ความชิ้น ( Moisture )  ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

2. ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองลดการเน่าเสียของน้ำ  ช่วยบำบัดน้ำเสีย เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ

3. แช่ในถังน้ำดื่ม ช่วยดูดซับคลอรีน และสิ่งที่มีพิษ  เพิ่ม แร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

     3.1 ทำความสะอาดถ่านไม้ไผ่ด้วยแปรงหรือฟองน้ำ ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานเด็ดขาด
     3.2 ต้มถ่านไม้ไผ่ที่ล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำเดือดประมาก 10 นาที
    3.3 นำออกมาวางไว้ปล่อยให้แห้ง  ไม่ควรนำออกตากแดด
    3.4 ใช้ถ่านไม้ไผ่ 50 กรัม  ต่อน้ำ 1 ลิตรแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2 ~ 3  ชั่วโมง  น้ำจะมีคุณสมบัติเหมือน น้ำแรธรรมชาติหรือดีกว่า
    3.5 หลังจากใช้ถ่านไม้ไผ่ในน้ำดื่มครบ 1 อาทิตย์  ควรนำ ออกมาต้มด้วยน้ำเดือด  และสามารถใช้ได้ 3 เดือน


ตาราง เปรียบเทียบแร่ธาตุต่าง ๆ
ระหว่าง ถ่านไม้ไผ่ ตรา. " บันตัน "
กับ ถ่านไม้ไผ่และน้ำแร่ธรรมชาติที่เก็บตัวอย่างจากตลาด
ใน ประเทศญี่ปุ่น



ANALYSIS TEST ITEMS
BAMBOO CHARCOAL WATER
( Japan )
BAMBOO  CHARCOAL WATER
( BunTun )
MINERAL WATER OF MARKETING
CALCIUM
22 mg/L
25.1 mg/L
10 mg/L
POTASSIUM
50 mg/L
133 mg/L
2.6 mg/L
MAGNESIUM
5.3 mg/L
4.9 mg/L
1.5 mg/L
     
 4. ใส่หม้อหุงข้าวขณะที่หุงข้าว
  ช่วยดูดซับคลอรีน กลิ่นเหม็นอับของข้าวสารเก่า และสิ่งที่มีพิษ  เพิ่ม แร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เพิ่มรสและความนุ่มให้ข้าวสุก


     4.1 ทำความสะอาดถ่านไม้ไผ่ด้วยแปรงหรือฟองน้ำ ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานเด็ดขาด
     4.2 ต้มถ่านไม้ไผ่ที่ล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำเดือดประมาก 10 นาที
     4.3 นำออกมาวางไว้ปล่อยให้แห้ง  ไม่ควรนำออกตากแดด
     4.4 ใช้ถ่านไม้ไผ่ 300 กรัม ( 3 ชิ้น ) ต่อข้าว 1 หม้อ
     4.5 ใช้ได้ 10 ~ 15 ครั้ง

5. ใส่ในอ้างอาบน้ำ ช่วย ดูดซับคลอรีน และสิ่งที่มีพิษ เพิ่มแร่ธาตุ  และ ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ชำระล้างผิวหนัง  กระตุ้น การการไหลวนของเลือด  ช่วยให้ร่างกายสดชื่น

     5.1 บรรจุถ่านไม้ไผ่ 300 กรัม  ในถุงตาข่าย
     5.2 แช่ถุงถ่านลงในอ่างอาบน้ำ
     5.3 เพิ่มอุณหภูมิของน้ำให้อุ่น
     5.4 เอาถุงถ่านออกจากอ่างเมื่ออาบน้ำเสร็จ
     5.6 ถ่านไม้ไผ่ 1 ถุงใช้ได้ 2 เดือน

6. ใส่ไว้ในที่นอน ไต้เตียง ในห้องนอน ช่วยฟอกอากาศ  ดูดกลิ่น  ความ ชิ้น  ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ กระตุ้นการการไหลวนของเลือด  จิต ใจสงบเย็นในขณะพักผ่อนและช่วยให้นอนหลับได้ดี ร่างกายสดชื่น      6.1 ห้องขนาด 3.2 ม. x 3.2 ม. ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ 3 กก./ห้อง

7. ดูดซับและหักเหคลื่นไฟฟ้า  ( Absorption of Electromagnetic Wave )  ช่วยดูดซับและหักเหคลื่นไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกมาจาก  ทีวี  คอมพิวเตอร์  จอมอนิเตอร์  อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิด ใช้งานอยู่ภายในบ้านและสถานที่ทำงาน  ดูดซับลดการแผ่ กระจายของคลื่นไฟฟ้าจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ

8. ฟอกและปรับอากาศ ใต้เตียงนอน และใต้อาคารบ้านเรือน ช่วย ดูดซับความชิ้นในฤดูที่มีความ ชื้นสูง  และคลายความชิ้นในฤดูที่มีความแห้งแล้ง

9. ใช้ผสมอาหารสัตว์ ช่วย เพิ่มแร่ธาตุ  ดูดซับสารพิษ  กำจัดแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร  ลด กลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ 10. ใช้ผสมดินเพื่อการเพาะปลูก  ช่วย ปรับสภาพของดิน  เพิ่ม แร่ธาตุที่พืชต้องการ

11. ใส่ในตู้เย็น ช่วยกูดกลิ่น และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ช่วยให้ผักสดเก็บไว้ได้นานวันขึ้น ถ่านไม้ไม้จะดูดซับก๊าชที่ผักและผลไม้คายออกมาซึ่งมีผลให้ผักและผลไม้เน่า เสีย

12. ใส่ในถังข้าวสาร ช่วยกูดกลิ่น ความชื้น และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ป้องกันมอด และแมลงต่าง ๆ

13. ใสไว้ในแจกันหรือกระถางดอกไม้   ช่วยให้เกิดออกไซด์ เพิ่มออกซิเจนและแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ ให้กับน้ำในแจกันหรือกระถางดอกไม้

14. ใส่ในตู้กระจกหรืออ่างเลี้ยงปลา  ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ ทำให้น้ำใสสะอาด  ช่วย เร่งการตกตะกอนของฝุ่นละอองในน้ำ

15. ทำห้องบำบัดสุขภาพ  ช่วยฟอกอากาศภายในห้อง ดูดกลิ่น   ( Deodorizing)  ความชิ้น (Moisture) ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ  นอกจากนั้นยังใช้ถ่านไม้ไผ่เป็นส่วนผสม หลักของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้อีกมากมายหลายชนิด  เช่น  สบู่  แชมพู  ยา สีฟัน  ถ่านเม็ดดูดสารพิษ ฯลฯ    

*********