วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

น้ำส้มควันไม้จากถ่านไม้ไผ่ (OTOP Product Champion)



น้ำส้มควันไม้จากถ่านไม้ไผ่
ผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้จากถ่านไม้ไผ่ ของบ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี ได้รับการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.๒๕๕๕ (OTOP Product Champion)

ระดับ ๕ ดาว

ประกาศผล :
วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ ๒๕๕๖

น้ำส้มควันไม้
( Wood Vinegar ) 

น้ำส้มควันไม้  เป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่านไม้ ภายใต้สภาพอับอากาศ ( Airless Condition ) เมื่อผ่านแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ไม้สดให้สัมผัสอากาศเย็น จะทำให้ไอกลั่นตัวลงจนเป็นของเหลว

น้ำส้มควันไม้ เป็นสารปรับปรุงดิน และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช ( Plant growth accelerating substances ) สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และควบคุมโรคพืชสาเหตุจากไส้เดือนฝอย ( Nematode ) เชื้อรา นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช

น้ำส้มควันไม้ มีสารประกอบทางเคมีมากกว่า 260 ชนิด ที่สำคัญ คือ
1.                       กรดอะซิติก ( Acetic acid )
2.                       ไนโตรเจน ( Nitrogen )
3.                       ฟอสฟอรัส ( Phosphorus X
4.                       โพตัสเซี่ยม.(Potassium )
5.                       ฟอฺร์มาลดิไฮด์ ( Formaldehyde )
6.                       เอธิล เอ็น วาเลอเรต ( Ethyl-n-valerate )
7.                       เมทธานอล ( Methanol )
8.                       น้ำมันทาร์ ( Tar )
         ฯลฯ

สารประกอบที่สำคัญในน้ำส้มควันไม้
  • กรดอะซิตริก เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
  • สารประกอบฟีนอล เป็นสารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
  • ฟอร์มอลดีไฮด์ เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช
  • เอธิล เอ็น วาเลอเรด เป็นสารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตของพืช
  • เมทธานอล เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
  • น้ำมันทาร์ เป็นสารจับใบช่วยลดการใช้สารเคมี

คุณสมบัติของ น้ำส้มสกัดจากควันไม้
  • ช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  • เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
  • ช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
  • ช่วยให้พืชออกดอกและติดผลง่ายขึ้น
  • ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงต้านทานโรค
      
น้ำส้มควันไม้ ได้จากการกลั่นตัวของควันที่เกิดจากขบวนการเผาถ่าน ในสภาพเตาเผาที่อัปอากาศ ภายได้การควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม มีส่วนผสมของน้ำ 80 % และมีสารประกอบ 80 ~ 260 ชนิด หรือแยกตามชนิดดังนี้ .

Compound
%
organic acid
32
phenoli  compound
40
aldehyde
3
alkone  compound
5
alcohol  compound
5
ester  compound
4
others
5
ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ( pH value  ) 2.5 ~ 4.0

*********************
กรด-ด่าง พีเอช pH คืออะไร
  ค่า ที่ แสดงปริมาณหรือความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนในน้ำ (Hydrogen or hydronium ion: H+ or H3O+) ซึ่งเกิดจากสารที่สามารถแตกตัวให้อนุมูลกรด(H+)หรือด่าง(OH-)ได้
ความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH มีค่าตั้งแต่ 0 - 14
สภาพเป็นกรด (Acid) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH ต่ำกว่า 7
สภาพเป็นด่าง/เบส (Base) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH มากกว่า 7

สภาพเป็นกลาง (Neutral) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH เท่ากับ 7
สาร
pH
กรดสารพิษจากเหมืองร้าง
-3.6 - 1.0
กรดจากแบตเตอรี
-0.5
กรดในกระเพาะอาหาร
1.5 - 2.0
เลมอน
2.4
Coke
2.5
น้ำส้มสายชู
2.9
ส้ม หรือ แอปเปิล
3.5
เบียร์
4.5
ฝนกรด
< 5.0
กาแฟ
5.0
ชา
5.5
นม
6.5
น้ำบริสุทธิ์
7.0
น้ำลายมนุษย์
6.5 - 7.4
เลือด
7.34 - 7.45
น้ำทะเล
8.0
สบู่ล้างมือ
9.0 - 10.0
แอมโมเนีย (ยาสามัญประจำบ้าน)
11.5
น้ำยาปรับผ้านุ่ม
12.5
โซดาไฟ
13.5

*********************
วิธีใช้น้ำส้มควันไม้

ใช้ฉีดพ่นใบพืช
  • ใช้ 2-3 ครั้ง หรือทุก 15 – 20 วัน ในช่วงฤดูการเพาะปลูกและเติบโตจนถึง 15 วันก่อนการเก็บเกี่ยว ในการใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวนั้น สารอินทรีย์ในน้ำส้มควันไม้จะช่วยเร่งการหมักตัวของกรดอมิโนและน้ำตาล ซึ่งจะเพิ่มรสหวานและกลิ่นหอมของผลไม้
  • ในกรณีของผัก ฉีดน้ำส้มควันไม้ก่อนเก็บเกี่ยว ช่วยให้คุณภาพและรสขาดดีขึ้น รวมทั้งชะลอการเหี่ยวเฉา สำหรับผักใบใช้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ก่อนเก็บเกี่ยว
  • กรณีผลไม้และผักกินใบที่ใช้เวลานานในการเก็บเกี่ยว ควรใช้น้ำส้มควันไม้ 2 หรือ 3 ครั้ง ทุก 15 – 20 วัน เริ่มจากช่วงต้นของการเก็บเกี่ยว
  • สำหรับผลไม้เมื่อผลไม้โตเต็มที่และเริ่มสุก เช่น ส้มจีน เมื่อสีเริ่มเปลี่ยนควรใช้น้ำส้มควันไม้ 1 – 2 ครั้ง ทุก 20 วัน จนถึง 15 วันก่อนเก็บเกี่ยว

แนวทางการใช้น้ำส้มควัน

ความ เข้มข้น โดยทั่วไปการใช้น้ำส้มควันไม้ควรเจือจางประมาณ 300 : 1 ถึง 1000 : 1 ความเข้มข้นที่มากกว่า 300 : 1 อาจส่งเสียต่อพืช ซึ่งอาจมีอาการดังนี้
1.                       จุดบนใบ
2.                       พืชหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว
3.                       การเติบโตของตัวถูกเร่ง ชะลอการเติบโตของผล

อาการใน .
ข้อ 1 และข้อ 2 เป็นผลมาจากกรดชีวภาพในน้ำส้มควันไม้
ข้อ 3 มาจากการที่ใช้น้ำส้มควันไม้มีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งสันดาป และการดูดซึมอาหารของพืช

ข้อแนะนำก็คือควรทดลองใช้น้ำส้มควันไม้ในพืชแต่ละชนิด และสังเกต 3 – 4 วัน ก่อนจะใช้อย่างเต็มที่ ควรใช้อย่างระมัดระวังในพืชที่มีความไวต่อสารเคมีและพืชใบอ่อน
 
ในการเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ สามารถใช้ร่วมกับสาหร่ายทะเล ปลาหรือก้างปลาที่สกัดได้ โดยใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว จากที่ได้กล่าวมาแล้ว ใช้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับยาเคมีเกษตรจะมีประสิทธิภาพมากกว่าใช้แยกกัน และน้ำส้มควันไม้สามารถที่จะใช้ร่วมกับกระเทียม ช่วยป้องกันแมลงและการติดเชื้อราได้

การใช้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับยาเคมีเกษตร
ยาเคมีเกษตรละลายได้ดี และทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในของเหลวที่มีค่า pH ประมาณ 4 – 5 ดังนั้นผสมน้ำส้มควันไม้ซึ่งเจือจางแล้ว 500 – 1000 เท่า จะทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และสามารถลดปริมาณการใช้ รวมถึงไม่จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยที่ทำให้สารเคมีติดอยู่กับพืช เนื่องจากน้ำมันทาร์ในน้ำส้มควันไม้ได้ทำหน้าที่นี้แล้ว แต่น้ำส้มควันไม้ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารที่เป็นด่าง

การใช้น้ำส้มควันไม้ใช้ในการบำรุงดิน  

ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้
  • ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง
  • น้ำส้มควันไม้ไผ่เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช
  • น้ำส้มควันไม้ไผ่ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม
ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว โดยเฉพาะดินซึ่งเสื่อมคุณภาพ อันเกิดจากการเก็บเกี่ยวไม่ดี และการใช้สารเคมีเกินควร
 
น้ำส้มควันไม้ที่ใช้ใส่ในดินควรมีความเข้มข้นสูงกว่าที่ใช้บนใบพืช น้ำส้มควันไม้ไผ่ซึ่งมีความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ถูกใช้ในปริมาณ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร โดยทั่วไปในการฆ่าเชื้อในดินปรือขจัดไส้เดือนฝอย ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้สามารถนำไปใช้ได้โดยปกติ การฆ่าเชื้อในดินควรใช้น้ำส้มควันไม้ซึ่งมีค่า pH 3 และมีความด่างจำเพาะ 1.014 และเจือจาง 8 เท่าตัว โดยใช้ปริมาณ 1 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร อย่างไรก็ดี ไส้เดือนฝอย มีความต้านทานสูง ต้องใช้เวลา 3 – 4 ปีเพื่อขจัดให้หมดสิ้น

การใช้น้ำส้มควันไม้สำหรับดินปลูกผัก
ให้ใช้น้ำส้มควันไม้ ความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ก่อนปลูกโดยใช้ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร ควรจะให้น้ำส้มควันไม้ซึมลงในดินประมาณ 50 ซม. โดยจะทำก่อนหรือหลังการไถดินก็ได้

ควรใช้ปุ๋ยหมักก่อนใส่น้ำส้มควันไม้ เนื่องจากหากใช้น้ำส้มควันไม้ก่อนอาจจะฆ่าจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยหมักก่อน และสุดท้ายพรวนลงไปร่วมกัน ควรใช้ปุ๋ยหมักและน้ำส้มควันไม้ช่วยพัฒนาคุณภาพดินในระยะยาว

การใช้น้ำส้มควันไม้สำหรับไม้ผลและพืชที่ปลูกในกระถาง
กรณีไม้ผล ให้รดสิบจุดรอบต้นไม้ในบริเวณที่โดนฝน และมีรากเล็ก ควรเจือจางน้ำส้มควันไม้ 30 – 50 เท่า และใช้ 500 ลิตรต่อ 1000 ตารางเมตร
 
กรณีไม้กระถาง ผสมน้ำส้มควันไม้ไผ่กับดินและทิ้งไว้ 10 – 15 วัน เพื่อระบายก๊าซออกก่อนใส่ในกระถาง

การใช้น้ำส้มควันไม้ใช้ในการหมักปุ๋ย
ช่วยเร่งขบวนการหมักโดยเฉพาะมูลสุกรและมูลไก่ การหมักจะเร็วขึ้นถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิของปุ๋ยที่หมักมา 4 วัน จะสูงถึง 80 องศาเซลเซียส ถ้าใช้น้ำส้มควันไม้ช่วย
 
ควรใช้น้ำส้มควันไม้ที่เจือจาง 100 เท่า รดลงบนปุ๋ย แต่ควรระวังไม่ควรใช้น้ำส้มควันไม้ซึ่งเข้มข้นกว่านี้ เนื่องจากจะไปฆ่าเชื้อ
 
เมื่อรากพืชเป็นโรค ให้ใช้น้ำส้มควันไม้เจือจาง 100 – 200 เท่า รดที่โคนต้น ให้ชุ่มจนลึก 50 ซม. สำหรับมะเขือเทศและแตงกวา ให้ใช้ 1 – 2 ลิตรต่อต้น เพื่อเพิ่มความสดชื้นแข็งแรงและพัฒนาการของราก

การใช้น้ำส้มควันไม้เป็นตัวลดกลิ่นหรือเป็นอาหารเสริม
1.                       การลดกลิ่นมูลสัตว์ ให้รดมูลสัตว์หรือพื้นคอกเลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำส้มควันไม้เจือจาง 50 เท่าบ่อยครั้งเท่าที่จะทำได้
2.                       น้ำส้มควันไม้สามารถเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ โดยช่วยปรับระดับแบคทีเรียในลำใส่และอำนวยการดูดซึมสารอาหาร ทำให้เนื้อไก่มีสีชมพู และลดปริมาณน้ำในเนื้อไก่เหลือประมาณร้อยละ 3 ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพไก่โดยรวม
เพราะน้ำส้มควันไม้ซึ่งได้ผ่านการกลั่นอย่างดีแล้วเท่านั้น จึงสามารถจะใช้กับสัตว์ได้ การผสมในอาหาร ให้ราดจนชุ่มบนรำข้าว ซึ่งขจัดไขมัน หลังจากนั้นผสมในอาหารสัตว์ในอัตราส่วน 99 ต่อ 1 ส่วนผสมนี้เหมาะสำหรับสัตว์ใหญ่

ข้อคิดเห็นโดยรวม :
  • น้ำส้มควันไม้ทำหน้าที่เหมือนเป็นฮอร์โมน ช่วยในการเจริญเติบโต
  • การให้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพจะได้ผลดีกับพืช
  • การใช้น้ำส้มควันไม้กับผักที่กินผล หัว หน่อ ต้องใช้ถี่กว่าผักกินใบในการป้องกันเพลี้ย หนอน
  • ถ้าใช้น้ำส้มฯอัตราที่เข้มข้นมาก จะทำให้ใบเหี่ยว แห้ง และตาย
  • หากใช้น้ำส้มฯมีความเข้มข้นมากจะทำให้สัตว์ป่วย เช่น เกิดท้องร่วง เชื่องซึม ซึ่งแก้ได้โดย กรอกน้ำเปล่าให้กับสัตว์เลี้ยง หรือคั้นน้ำฟักเขียวสดกับน้ำเปล่ากรอก หรือตำปูนาผสมกับฟักเขียวคั้นกรองให้สัตว์กิน

หมายเหตุ :- ขบวน การผลิต ( ขั้นตอนการผลิต ) น้ำส้มควันไม้ ( Wood Vinegar) ได้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปหลากหลายรูปแบบ แต่คงต้องยอมรับความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่าแนวความคิดการเก็บน้ำส้มควันไม้ จากการเผาถ่านนั้นเราได้รับความคิดและกรรมวิธีเดิม ๆ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง น้ำส้มควันไม้มาก่อน ซึ่งกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นจะเผยแพร่เรื่องน้ำส้มควันไม้ออกมาสู่ผู้บริโภค อนู้ในปัจจุบัน ทั้งกรรมวิธีการผลิตและคุณประโยชน์ ได้ผ่านขบวนการลองผิดลองถูกมานานหลายสิบปี และยังได้ทำการวิจัยศึกษาค้นคว้าหาส่วนประกอบของน้ำส้มควันไม้ว่ามีองค์ ประกอบอะไรบ้าง มีสารประกอบกี่ชนิด มีคุณสมบัติอย่างไร มีวิธีใช้อย่างไร ซึ่งต้องใช้ขบวนการพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงพอสมควร นั่นคือต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือและความรู้เบื้องต้นก่อนจะเจาะลึกเข้าไป หาความรู้ใหม่ ๆ ของน้ำส้มควันไม้ได้
 

เอาแค่ขั้นตอนการผลิตหรือขั้นตอนการเก็บน้ำส้มควันไม้ ญี่ปุ่นได้มีการกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเลยว่า อุณหภูมิภายในเตาต้องเท่าไรจึงจะได้ส่วนที่เป็นน้ำส้ม อุณหภูมิที่เท่าใดที่จะต้องหยุดเก็บ อูณหภูมิที่เริ่มขบวนการเผาถ่านควันที่ถูกปล่อยออกมาสามารถเก็บเอาน้ำที่เรา ทำให้กลั่นตีวเป็นหยดน้ำได้หรือไม่ เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยความรู้จริง ๆ จึงจะได้น้ำส้มควันไม้ ที่ได้มาตรฐาน ( ส่วนประกอบของเนื้อไม้ที่สำคัญ คือ :- 1.คาร์บอน 2. กรด 3. ด่าง ซึ่งมีลักษณะเป็นของแข็งและของเหลวประกอบกันอยู่ ) แต่ถ้าขาดความรู้เบื้องต้นเหล่านี้แล้วพากันโมเมว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นคือ น้ำส้มควันไม้ ก็จะเจอปัญหาหรือคำถามที่ว่า
 

ทำไมน้ำส้มควันไม้ที่ชาวบ้านผลิตได้ในปัจจุบัน เมื่อนำไปวิเคราะห์ทดสอบเบื้องต้นจึงมีค่าเป็นด่าง ( ค่า pH สูง ) ซึ่ง  ตามมาตรฐานญี่ปุ่นนั้น น้ำส้มควันไม้ ต้องมีค่าเป็นกรด วัดค่า pH ไม่เกิน 3.0 บวก / ลบ 0.5 โดยประมาณ อย่างนี้เป็นต้น
 

จึงเป็นที่น่าเสียดายที่น้ำส้มควันไม้ ที่พากันเก็บในบ้านเราอยู่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเชื่อถือเท่าที่ ควร เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการนี่เอง
 
เมื่อนำไปใช้แล้วไม่ได้ประโยชน์แถมยังเกิดโทษเสียอีก เพราะเท่ากับเราไปเพิ่มค่าความเป็นด่างให้กับสภาพแวดล้อม
 

จึงต้องขอแสดงความเห็นมา ณ.ที่นี้เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาศึกษาเรียนรู้เรื่องน้ำส้มควันไม้ให้เกิด ความรู้ที่เป็นสาระประโยชน์จริง ๆ กันเสียที
 

ไม่ อยากให้คนไทย ประเทศไทย เป็นเช่นนี้ต่อไป คือไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามคนไทยเราขี้มักจะรู้ไปหมด ทำเหมือนรู้มากเสียด้วย แต่รู้จริงแค่ไหนไม่มีใครรู้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอวดรู้เสียมากกว่า ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาครอบครัว พัฒนาชุมชน พัฒนาท้องถิ่น และพัฒนาประเทศ ผิดทิศผิดทางกันไปหมด


********************* 
เฒ่าเผาถ่าน