วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ถ่านไม้ไผ่ 

( Bamboo Charcoal ) 

เมื่อกล่าวถึง ” ถ่าน ” หลายคนคงจะนึกถึงชิ้นไม้ดำๆ ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มอาหารในครัวเรือนเท่านั้น แต่จริงแล้วถ่านมีสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถดูดซับกลิ่นเหม็นอับไม่พึ่งประสงค์ต่างๆ ได้  ซึ่งจะเห็นจากการนำถ่านมาใส่ไว้ในตู้เย็น ทำให้ตู้เย็นไม่มีกลิ่นเหม็นคาว ใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้า และตู้โชว์ เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นอับ

สิ่งที่ทำให้ถ่านมีความสามารถในการดูดซับกลิ่นได้ โดยเฉพาะ  ถ่านไม้ไผ่ (Bamboo Charcoal) เนื่องจากโครงสร้างของ ถ่านไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นรูพรุนเล็กๆ มากมาย  โดยกลิ่นเหม็นอับต่างๆ จะแพร่เข้ารูพรุนเหล่านี้ ทำให้เกิดการดูดซับกลิ่นเหล่านั้นไว้ตามผนังและในรูพรุน หากถ่านมีรูพรุนมากๆก็จะทำให้ดูดซับกลิ่นได้มากตามไปด้วย 

ประวัติความเป็นมา

ในประเทศไทย ได้มีการผลิตถ่านไม้ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงมาเป็นเวลานานมากแล้ว ซึ่งวิธีการผลิตถ่านไม้ที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่หลายคนคงเคยพบเห็น ก็คือ การที่ชาวบ้านตัดต้นไม้ทั้งที่อยู่ในที่ของตนเองและในป่าไม้ธรรมชาติมาเผา โดยการนำท่อนไม้มาวางเรียงแล้วจุดไฟ จากนั้นจึงใช้ดินหรือแกลบกลบ ปล่อยให้ลุกไหม้แล้วนำถ่านออกมาดับด้วยน้ำ และมักจะย้ายที่ผลิตไปเรื่อย ๆ ตามแต่ว่าที่ไหนจะมีไม้ให้เผา เมื่อไม้หมดก็จะย้ายไปผลิตที่อื่นต่อ การผลิตถ่านไม้จึงถูกมองว่าเป็นการตัดไม้ทำลายป่าและสร้างมลพิษ เมื่อการผลิตถ่านไม้ถูกมองว่าเป็นการตัดไม้ทำลายป่า อีกทั้งกฎระเบียบต่าง ๆที่เกี่ยวกับป่าไม้ก็ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาวิธีการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนั้นการศึกษาทำความเข้าใจ การวิจัยพัฒนาคุณภาพและผลผลิตของถ่านไม้ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ จึงมีน้อยมาก

การผลิตถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่าเป็นแบบก้าวกระโดด คือ แตกต่างจากการเผาถ่านที่คนไทยทั่วไปรู้จักเป็นอย่างมาก เนื่องจากการผลิตถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพนั้นเป็นการนำเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถเผาถ่านไม้ไผ่ในอุณหภูมิที่สูงกว่า 1,000 เซลเซียสได้

ผู้ผลิตถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ ( คนแรกของประเทศไทย ) คือ คุณกิตติ เลิศล้ำ ได้รับการถ่ายทอดทั้งเทคนิคในการทำเตาเผาและกรรมวิธีในการทำทั้งหมดจากเพื่อนชาวญี่ปุ่น ชื่อ Mr. Daisaku Nakago ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญเรื่องการทำถ่านไม้เป็นอย่างดี เนื่องจากครอบครัวของ Mr. Daisaku Nakago ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นประกอบอาชีพผลิตถ่านไม้ มาหลายชั่วอายุคน เมื่อทั้งสองได้เล็งเห็นว่าบ้านเกิดของคุณกิตติที่จังหวัดปราจีนบุรีนั้นมีการปลูกไม้ไผ่กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นวัตถุดิบในการผลิตถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพได้ คุณกิตติจึงตัดสินใจลงมือทำทันที เมื่อปี พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อทำเป็นสินค้าส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น นอกจากคุณกิตติจะได้ฝึกฝนการเผาถ่านตามกรรมวิธีที่เพื่อนชาวญี่ปุ่นได้แนะนำจนเกิดความชำนาญและปรับปรุงพัฒนาเทคนิคกรรมวิธีการเผาจนสามารถทำถ่านไม้ไผ่ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่นได้แล้ว คุณกิตติยังได้ศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องถ่านไม้ไผ่ จนทราบว่าถ่านไม้ไผ่มีคุณสมบัติอย่างไร นำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง และผลพลอยได้จากการทำถ่านไม้ไผ่ ที่เรียกว่า น้ำส้มควันไม้ไผ่ ( BAMBOO VINEGAR) นั้นมีคุณสมบัติและคุณประโยชน์อย่างไร จากตำราของเพื่อนชาวญี่ปุ่นและจากการค้นคว้าด้วยตัวเองทาง Interner บ้าง สื่ออื่น ๆ บ้าง ดังนั้นเมื่อคุณกิตติต้องประสบกับปัญหาด้านการส่งออก เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นได้มีการกำหนดโควต้าการนำเข้าถ่านไม้ไว้ในจำนวนที่จำกัด อีกทั้งข้อกำหนดทางกฎหมายในเรื่องถ่านไม้ในประเทศไทยก็ยังไม่เอื้ออำนวย คุณกิตติจึงมีความคิดที่จะทำตลาดในประเทศไทยแทน เพราะเห็นว่าถ่านไม้ไผ่ที่ทำได้นั้นมีคุณสมบัติและคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพของผู้ใช้แตกต่างจากถ่านไม้ทั่ว ๆไปที่มีอยู่ในตลาด และสินค้าเพื่อสุขภาพที่ทำจากถ่านไม้ไผ่ในประเทศไทยก็ยังไม่มีในขณะนั้น ในช่วงนั้นเองทางรัฐบาลก็ได้มีโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ( OTOP CHAMPION ) และได้เปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดย่อม ( SME) เข้าร่วมโครงการได้

คุณชาญอนันต์ ชัยชาญ พัฒนาการอำเภอนาดี ( เมื่อปี 2546 ) ได้เข้ามาให้คำแนะนำและส่งเสริมให้คุณกิตติได้ส่งสินค้าเข้าร่วมคัดสรรในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งต่อมาถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพได้ผ่านการคัดสรรให้เป็นสินค้า OTOP ในระดับ 4 ดาว ของภาคกลาง และได้ไปจำหน่ายที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรก หลังจากที่คุณกิตติได้เริ่มทำถ่านไม้ไผ่มาเป็นเวลากว่า 4 ปี ซึ่งในครั้งนั้นถึงแม้ว่าจะมียอดจำหน่ายไม่สูงนัก แต่ก็ถือว่าได้ผลตอบรับที่น่าพอใจ เพราะมีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของถ่านไม้ไผ่ทั้งจากประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ติดต่อสอบถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้มีคนรู้จักถ่านไม้ไผ่มากขึ้น นอกจากนั้นทางคณะผู้บริหารของสถาบันเพื่อพัฒนาการเกษตรและชนบทจำเนียร สาระนาค ( สจส. ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การสบับสนุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส. ) เพื่อดำเนินการให้บริการทางการศึกษาดูงานและฝึกอบรมด้านการพัฒนาการเกษตรและชนบท แก่หน่วยงาน องค์กร และบุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ได้ให้ความสนใจและให้เกรียติมาเยี่ยมชมสถานที่ผลิตและช่วยอุดหนุนสินค้าผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ ถึงจังหวัดปราจีนบุรีเลยทีเดียว นอกจากนั้นคุณกิตติยังรับเกรียติให้เป็นวิทยากรรับเชิญ เพื่อให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่สนใจในเรื่องของการเผาถ่านด้วยถังน้ำมัน 200 ลิตร ร่วมกับทีมงานวิทยากรของ สจส. ตามที่ต่าง ๆอีกด้วย เช่น งานกาชาดจังหวัดเชียงใหม่, งานเพื่อฟ้าดินที่ราชธานีอโสก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น

นอกจากนั้นคุณกิตติยังได้รับการส่งเสริมและคำแนะนำต่างๆ จากหน่วยงานทางภาครัฐ ของจังหวัดปราจีนบุรี ทั้งพัฒนาชุมขนจังหวัด, อุตสาหกรรมจังหวัด, พาณิชย์จังหวัด, พัฒนาชุมชนอำเภอนาดี ฯลฯ ทำให้คุณกิตติได้ไปเข้าร่วมการ อบรม และสัมมนาในโครงการต่าง ๆ ของหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จนสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของสินค้าให้สวยงามและเป็นที่ต้องการของตลาดยิ่งขึ้น ทำให้การไปจำหน่ายสินค้าที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในงาน เมืองแห่งภูมิปัญญาไทย (OTOP CITY) วันที่ 21 – 28 ธันวาคม 2546 มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ และมียอดสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งทุกวันนี้

เอกลักษณ์และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ เป็นสินค้าที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในท้องถิ่น ดังจะเห็นได้จากคำขวัญของจังหวัดปราจีนบุรีที่ว่า ” ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี ” อีกทั้งยังได้นำภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นอีกด้วย นอกจากนั้น คุณสมบัติและคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพที่ทางผู้ผลิตได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ออกไปนั้น ก็สามารถตรวจสอบและพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่วิธีง่าย ๆ ที่ใช้ดูลักษณะถ่านประเภทนี้ก็คือ เมื่อเคาะถ่านจะมีเสียงดังกังวานคล้ายเสียงเคาะกระเบื้องดินเผา เมื่อหักดูจะเห็นสีดำมันวาว และเมื่อใช้นิ้วถูที่บริเวณรอยหักของถ่านจะไม่มีสีดำติดที่นิ้วเลย ส่วนที่ผิวถ่านอาจจะมีสีดำติดบ้างเล็กน้อย เนื่องจากคุณสมบัติของเปลือกไม้ เมื่อนำไปให้เป็นเชื้อเพลิงจะจุดติดไฟได้ยาก แต่เมื่อติดแล้วจะให้ความร้อนที่สูงมาก มอดดับช้า ถ่านไม่แตกปะทุ และควันน้อยมาก

คุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นเกิดจากการเผาถ่านด้วยอุณหภูมิที่สูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส meให้ถ่านไม้ไผ่

– มีรูพรุนเป็นจำนวนมาก
– มีคาร์บอนเสถียร ( FIXED CARBON ) สูงมากกว่า 85 %
– มีสารระเหยง่ายต่ำ
– มีแร่ธาตุมาก
– และค่าความต้านทาน ( Resistance ) ไม่เกิน 100 โอห์ม
                   
ดังนั้นถ่านไม้ไผ่ที่ผลิตได้จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ได้แก่ ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ในระบบกรองน้ำ บำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยา ก้นกรองบุหรี่ ใช้ผลิตชิ้นส่วนของแบตเตอรี่ และถ่านไฟฉาย ฯลฯ, ใช้ในครัวเรือน เช่น ใช้ประกอบอาหารปิ้ง ย่าง ใช้ดูดกลิ่นและความชื้นในบ้าน ในห้องปรับอากาศ ในรถยนต์ ใส่ในถังข้าวสารเพื่อดูดความชื้นจากข้าว ใช้ดูดความชื้นใต้ถุนบ้าน ฯลฯ, ใช้ในการเกษตร เช่น ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ใช้ช่วยในการทำปุ๋ยหมัก ใช้รักษาผลผลิตทางการเกษตรไว้ให้สดนานขึ้น ฯลฯ, ใช้ในการปศุสัตว์ เช่น ใช้รองพื้นคอกปศุสัตว์ ใช้ผสมในอาหารสัตว์ เป็นต้น

นอกจากนั้นกระบวนการผลิตถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ ยังทำให้เกิดผลพลอยได้จากการผลิตถ่าน นั่นก็คือ น้ำส้มควันไม้ไผ ( BAMBOO VINEGAR) ซึ่งเกิดจากการควบแน่นของควันในขณะเผาถ่าน มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ หากผ่านการกลั่นจะมีสีเหลืองใส ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรอินทรีย์

ด้วยเอกลักษณ์และจุดเด่นดังกล่าวข้างต้นทำให้ผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ ได้ผ่านการคัดสรรเป็นสินค้า OTOP ในระดับ 4 ดาว ของภาคกลาง ในปี 2546 และระดับ 4 ดาว ของประเทศ ในปี 2547 ( เป็นรายแรกและรายเดียวของประเทศไทย ) และกลายเป็นสินค้าของฝากที่ขึ้นชื่อ และนำชื่อเสียงมาสู่อำเภอนาดี และจังหวัดปราจีนบุรี ผลิตภัณฑ์กับความสัมพันธ์กับชีวิตและชุมชน ผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพมีความสัมพันธ์กับชีวิตและชุมชน ดังต่อไปนี้…

ด้านอาชีพ :

ทำให้เกิดวิสาหกิจชุมชน กระจายรายได้ให้คนในท้องถิ่น ทั้งกลุ่มผู้ปลูกไม้ไผ่ และกลุ่มตัดเย็บ
– สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น
– สมาชิกกลุ่มมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
– สมาชิกในชุมชนมีงานทำ
– ยกระดับอาชีพคนเผาถ่านให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ด้านการศึกษา
– เป็นที่ศึกษา ดูงานด้านการผลิตถ่านไม้ที่มีคุณภาพ
– เป็นวิทยากรให้คำแนะนำเรื่องการเผาถ่าน – ส่งเสริม เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเรื่องถ่าน
– พัฒนาความคิด ช่วยกันสร้างสรรค์พัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านชุมชน
– ปลูกฝังเรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ไม่ให้ตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อนำมาเผาถ่านเช่นในอดีต
– เกิดจิตสำนึกในการปลูกไม้ไผ่ในชุมชน การสร้างป่าถาวร
– เกิดการสร้างภูมิปัญญา
– เกิดปราชญ์ชาวบ้าน ที่รู้จริงทำจริง เวทีวิเคราะห์การพัฒนาผลิตภัณฑ์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์

1. คุณภาพสินค้า / ตัวสินค้า – สามารถเพิ่มอุณหภูมิในการเผาให้สูงขึ้น ทำให้ถ่านไม้ไผ่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น – ปรับปรุงรูปแบบสินค้าให้มีสีสันสวยงาม น่าใช้ยิ่งขึ้น – ปรับปรุงรูปทรงของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น

2. บรรจุภัณฑ์ – ปรับปรุงให้มีความประณีต สวยงามมากขึ้น

3. การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ – มีเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพของถ่านไม้ไผ่ที่ใช้ทำสินค้า – ส่งสินค้าให้สถาบันที่มีความน่าเชื่อถือช่วยตรวจสอบ วิเคระห์คุณสมบัติให้ได้มาตรฐานอยู่อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นกลุ่มฯ ยังมีเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพถ่าน ไว้ใช้สำหรับตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์และรักษามาตรฐานการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพ

ถ่านไม้ไผ่ตามมาตรฐานของญี่ปุ่นและจีนแบ่งไว้เป็น 2 เกรด  คือ : –

1.  เกรด  1  ( White Charcoal หรือ 1st grade )  เป็นถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงใช้กรรมวิธีการผลิตและอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  เหมาะสำหรับใช้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ  มีคุณสมบัติที่ดีต่อมนุษย์  สัตว์  สิ่งแวดล้อม  ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

2.  เกรด  ปกติทั่วไป  ( Black Charcoal หรือ Regulation grade )  เป็นถ่านที่ใช้กรรมวิธีการผลิตและอุณหภูมิภายในเตาต่ำกว่า 1,000 ºC  เหมาะสำหรับใช้เป็นถ่านเชื้อเพลิง หุงต้มอาหารและถ่านเพื่อให้พลังงานความร้อนอื่น ๆ  แต่ไม่ควรนำไปประกอบอาหารประเภท ปิ้ง  ย่าง  บาร์บีคิว  ยากิโตริ ( ไก่เสียบไม้ย่าง ) เพราะค่าของถ่านคงที่ ( Fixed  Carbon  ) ไม่ถึงหรือน้อยกว่า  85 %

ถ่านไม้ไผ่ (Bamboo Charcoal) ภาษาญี่ปุ่นเรียก ทาเคะสึมิ (takezumi)  หรือ คิคุตัน (tikutan) ทำมาจากไม้ไผ่ ( Bamboo ) เป็นถ่านที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์  สัตว์  ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมากมาย

ถ่านไม้ไผ่ ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า  1,000 ºC  แตกต่างไปจากถ่านทั่วไป  หรือแม้แต่ถ่านขาว ( White Charcoal )  หรือบินโจตัน ( Binchotan )  ที่มีผลิตกันมากในประเทศญี่ปุ่นและจีน  ปัจจุบันประเทศจีนปิดป่าจึงไม่มีการผลิตถ่านทั้งสองชนิดนี้แล้ว

ถ่านไม้ไผ่  ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  มีลักษณะพิเศษ  ดังนี้ :-

มีรูพรุนมากกว่า  หากนำมาแผ่กระจายออกเป็นพื้นที่จะได้พื้นที่มากถึง 300 ถึง 700  ตร.ม / กรัม ( ถ่านไม้ทั่วไป จะได้พื้นที่ประมาณ  50  ตร.ม / กรัม  ) 

มีค่าความด้านทานไฟฟ้า ( Resistance ) ต่ำ  ( ไม่เกิน 100 โอห์ม )

มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย

จีน และ ญี่ปุ่น ได้ทำการวิจัยถ่านไม้ไผ่ ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC  พบว่ามีคุณสมบัติพิเศษ  สามารถให้กำเนิดและปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray )

จากคุณสมบัติดังกล่าว ถ่านไม้ไผ่ จึงถูกนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในหลากหลายรูปแบบ เป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่นและมีราคาแพง เช่น :-

1. ใช้เป็นวัสดุตบแต่งบ้านเรือน  ( Decorate ) ช่วยฟอกอากาศ  ดูดกลิ่น ( Deodorizing ) ความชิ้น ( Moisture )  ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

1.1 ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ในปริมาณที่เหมาะสมกับพื้นที่

2. ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองลดการเน่าเสียของน้ำ  ช่วยบำบัดน้ำเสีย เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ

2.1 ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาตรน้ำ

3. แช่ในถังน้ำดื่ม ช่วยดูดซับคลอรีน และสิ่งที่มีพิษ  เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

3.1 ทำความสะอาดถ่านไม้ไผ่ด้วยแปรงหรือฟองน้ำ ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานเด็ดขาด

3.2 ต้มถ่านไม้ไผ่ที่ล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำเดือดประมาก 10 นาที

3.3 นำออกมาวางไว้ปล่อยให้แห้ง  ไม่ควรนำออกตากแดด

3.4 ใช้ถ่านไม้ไผ่ 100 กรัม ( 1 ชิ้น ) ต่อน้ำ 1 ลิตรแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2 ~ 3  ชั่วโมง  น้ำจะมีคุณสมบัติเหมือนน้ำแรธรรมชาติหรือดีกว่า

3.5 หลังจากใช้ถ่านไม้ไผ่ในน้ำดื่มครบ 1 อาทิตย์  ควรนำออกมาต้มด้วยน้ำเดือด  และสามารถใช้ได้ 1 เดือนต่อถ่านไม้ไผ่ 100 กรัม

ตารางเปรียบเทียบแร่ธาตุต่างๆ  ระหว่างถ่านไม้ไผ่ ” บันตัน “กับถ่านไม้ไผ่และน้ำแร่ธรรมชาติที่เก็บตัวอย่างจากตลาดในประเทศญี่ปุ่น

ANALYSIS TEST

 ITEMS 1.BAMBOO CHARCOAL WATER( Japan ) : CALCIUM :22 mg/L / POTASSIUM 50 mg/L / MAGNESIUM 5.3 mg/L

 ITEMS 2.BAMBOO  CHARCOAL WATER( BunTun ) : CALCIUM 25.1 mg/L / POTASSIUM 133 mg/L / MAGNESIUM 4.9 mg/L

 ITEMS 3.MINERAL WATER OF MARKETING : CALCIUM 10 mg/L / POTASSIUM 2.6 mg/L / MAGNESIUM 1.5 mg/L

4. ใส่หม้อหุงข้าวขณะที่หุงข้าว  ช่วยดูดซับคลอรีน กลิ่นเหม็นอับของข้าวสารเก่า และสิ่งที่มีพิษ  เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เพิ่มรสและความนุ่มให้ข้าวสุก

4.1 ทำความสะอาดถ่านไม้ไผ่ด้วยแปรงหรือฟองน้ำ ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานเด็ดขาด

4.2 ต้มถ่านไม้ไผ่ที่ล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำเดือดประมาก 10 นาที

4.3 นำออกมาวางไว้ปล่อยให้แห้ง  ไม่ควรนำออกตากแดด

4.4 ใช้ถ่านไม้ไผ่ 300 กรัม ( 3 ชิ้น ) ต่อข้าว 1 หม้อ

4.5 ใช้ได้ 10 ~ 15 ครั้ง

5. ใส่ในอ้างอาบน้ำ ช่วยดูดซับคลอรีน และสิ่งที่มีพิษ เพิ่มแร่ธาตุ  และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ชำระล้างผิวหนัง  กระตุ้นการการไหลวนของเลือด  ช่วยให้ร่างกายสดชื่น

5.1 บรรจุถ่านไม้ไผ่ 300 กรัม  ในถุงตาข่าย

5.2 แช่ถุงถ่านลงในอ่างอาบน้ำ

5.3 เพิ่มอุณหภูมิของน้ำให้อุ่น

5.4 เอาถุงถ่านออกจากอ่างเมื่ออาบน้ำเสร็จ

5.6 ถ่านไม้ไผ่ 1 ถุงใช้ได้ 2 เดือน

6. ใส่ไว้ในที่นอน ไต้เตียง ในห้องนอน ช่วยฟอกอากาศ  ดูดกลิ่น  ความชิ้น  ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ กระตุ้นการการไหลวนของเลือด  จิตใจสงบเย็นในขณะพักผ่อนและช่วยให้นอนหลับได้ดี ร่างกายสดชื่น

6.1 ห้องขนาด 3.2 ม. x 3.2 ม. ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ 3 กก./ห้อง

7. ดูดซับและหักเหคลื่นไฟฟ้า  ( Absorption of Electromagnetic Wave )  ช่วยดูดซับและหักเหคลื่นไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกมาจาก  ทีวี  คอมพิวเตอร์  จอมอนิเตอร์  อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดใช้งานอยู่ภายในบ้านและสถานที่ทำงาน  ดูดซับลดการแผ่กระจายของคลื่นไฟฟ้าจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ

8. ฟอกและปรับอากาศ ใต้เตียงนอน และใต้อาคารบ้านเรือน ช่วยดูดซับความชิ้นในฤดูที่มีความชื้นสูง  และคลายความชิ้นในฤดูที่มีความแห้งแล้ง

9. ใช้ผสมอาหารสัตว์ ช่วยเพิ่มแร่ธาตุ  ดูดซับสารพิษ  กำจัดแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร  ลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์

10. ใช้ผสมดินเพื่อการเพาะปลูก  ช่วยปรับสภาพของดิน  เพิ่มแร่ธาตุที่พืชต้องการ

11. ใส่ในตู้เย็น ช่วยกูดกลิ่น และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ช่วยให้ผักสดเก็บไว้ได้นานวันขึ้น ถ่านไม้ไม้จะดูดซับก๊าชที่ผักและผลไม้คายออกมาซึ่งมีผลให้ผักและผลไม้เน่าเสีย

12. ใส่ในถังข้าวสาร ช่วยกูดกลิ่น ความชื้น และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ป้องกันมอด และแมลงต่าง ๆ

13. ใสไว้ในแจกันหรือกระถางดอกไม้ ทำให้เกิดออกไซด์ เพิ่มออกซิเจนและแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ ให้กับน้ำในแจกันหรือกระถางดอกไม้

14. ใส่ในตู้กระจกหรืออ่างเลี้ยงปลา  ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม  แมกเนเซี่ยม ฯลฯ ทำให้น้ำใสสะอาด  ช่วยเร่งการตกตะกอนของฝุ่นละอองในน้ำ

15. ทำห้องบำบัดสุขภาพ  ช่วยฟอกอากาศภายในห้อง ดูดกลิ่น   ( Deodorizing)  ความชิ้น (Moisture) ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

นอกจากนั้นยังใช้ถ่านไม้ไผ่เป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้อีกมากมายหลายชนิด  เช่น  สบู่  แชมพู  ยาสีฟัน  ถ่านเม็ดดูดสารพิษ.

คัดลอกจาก : เอกสารส่งคณะกรรมการคัดสรรผลิตภัณฑ์โอท๊อป ปี พ.ศ 2546


เฒ่าเผาถ่าน พิท้กษ์โลก