วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ถ่านขาว ( White Charcoal )

ถ่านขาว
White Charcoal
********************
     ถ่านขาว ( White Charcoal ) ภาษาญี่ปุ่นเรียก Bincho Tan หรือ Bincho - Zumi เป็นถ่านที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น  เริ่มต้นผลิตในสมัยเอโดะเมื่อช่วงยุค Genroku โดยผู้ที่คิดค้นพบกรรมวิธีการผลิตถ่านขาวคนแรกเป็นผู้มีประสพการรณ์เรื่องการเผาถ่านชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า Bitchu - Ya  Chozaemon (中屋 左衛門 ) เริ่มผลิตเป็นครั้งแรกที่เมือง Tanabe จังหวัด Wakayama ประเทศญี่ปุ่น วัตถุดิบใช้ไม้โอ๊ค โดยการตัดแต่งกิ่งก้านขนาดเล็กนำมาเผาเป็นถ่าน  ได้ถ่านไม้ที่มีคุณภาพสูงมาก คือ :-
  • มีค่าความเป็นถ่านคงที่  ( Fixed  Carbon )  สูงมากกว่า 85 เปอร์เซนต์ 
  • มีขี้เถ้า ( Ash ) น้อย  
  • มีความชื้น ( Moisture ) ต่ำ 
  • มีสารระเหย ( Volatile matter ) ตกค้างน้อย
        ถ่านขาว ( White Charcoal ) เผาด้วยอุณหภูมิมากกว่า 1000 องศาเซลเซียส กรรมวิธีดั้งเดิมหลังจากที่ถ่านภายในเตามีอุณหภูมิมากกว่า 1000 องศาเซลเซียส ผู้ผลิตจะนำถ่านที่กำลังร้อนจัดออกมาจากเตาและทำการกลบทับด้วยขี้เถ้าผสมดิน ( สูตรลับเฉพาะ )  ทำให้ถ่านเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว  หลังจากนั้นจะนำถ่านที่เย็นสนิทดีแล้วออกมาทำความสะอาด  จะสังเกตุเห็นว่าผิวนอกของถ่านจะมีสีขาวนวลเหมือนสีขี้เถ้า  จึงพากันเรียกว่าถ่านขาว เมื่อนำแท่งถ่านมาหักดู  จะเห็นว่าบริเวณรอยหักมีสีดำมันวาวบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของถ่าน  เคาะดูจะมีเสียงดังกังวานเหมือนเสียงโลหะ



     กรรมวิธีการผลิตถ่านขาว ถือเป็นภูมิปัญญาที่ชาวญี่ปุ่นหวงแหนมาก ต้องใช้ความชำนาญพิเศษเฉพาะตัวของผู้ผลิต ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนรู้และฝึกฝนนานมาก ปัจจุบันมีผู้ที่สามารถผลิตถ่านขาวได้อยู่เพียงไม่กี่คน  ความรู้เรื่องการผลิตถ่านขาวจึงเป็นความลับสุดยอดของชาวญี่ปุ่น 

     ถ่านขาว ( White Charcoal ) มีคุณภาพสูงมากกว่าถ่านทั่วไปและมีราคาแพง แต่มีผู้ใช้ในวงจำกัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวญี่ปุ่นเท่านั้นที่ใช้และรู้จักถ่านขาวดี  ทั้งนี้เพราะชาวญี่ปุ่นนิยมรัปทานอาหารปิ้ง ย่าง    นอกจากนั้นประเทศญึ่ปุ่นยังมีประเพณีชงชาซึ่งเป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวญี่ปุ่น  ต้องใช้ถ่านขาวเป็นส่วนประกอบหนึ่งในพิธีดังกล่าว  ถ่านขาวจึงมีความจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันชาวญี่ปุ่นมาก

************************ 
ข้อมูลบางส่วนสืบค้นจาก : wikipedia
เฒ่าเผาถ่านพิทักษ์โลก
 http://www.bantanthai.com

2 ความคิดเห็น:

  1. เมื่อ ปี 2541 เริ่มศึกษาการเผาถ่านเป็นครั้งแรก และเริ่มลงมือทำเตาเผาถ่านในปี 2542 โดยเลือกแบบเตาจากหนังสือคู่มือการเผาถ่านที่เพื่อนชาวญี่ปุ่นนำมาให้ดู

    เมื่อลงมือทำเตาครั้งแรกก็ไม่รู้ว่าเตาที่ทำนั้นเป็นแบบอะไร ชื่ออะไร เพราะหลังจากเลือกแบบที่ดีที่สุดแล้ว เรายังได้เพิ่มเติมส่วนที่เราคิดว่าน่าจะดีกว่าต้นแบบ ขยายให้ใหญ่กว่าแบบ ทนอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าแบบ เพราะมีโครงการจะทำเครื่องสังคโลกญี่ปุ่นต่อไป

    เมื่อทำเตาเสร็จก็ลงมือเผาถ่านโดยยึดกรรมวิธีเผาถ่านตามตำราการเผาถ่านคุณภาพสูงของญี่ปู่นเป็นพื้นฐาน โดยไม่เคยเผาถ่านแบบเดิม ๆ ของบ้านเรามาก่อน

    วันแรกที่จุดไฟใส่เตา ถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นว่า ต้องให้เวลานาสักเท่าไรจึงจะเผาถ่านเป็น เขาตอบอย่างไม่ต้องคิดและไม่รีรอสักนิดว่า ล๊กกุเนงกุไล แปลเป็นไทยว่า 6 ปี หรืออาจจะ 10 ปี หรือมากกว่า

    เหลือเชื่อเกินไปมั้ง เรารู้สึกอย่างนั้น เราค่อนข้างจะไม่เชื่อคำพูดที่เพื่อนชาวญี่ปุ่นบอกสักเท่าไร

    จากปี 2542 จวบกระทั่งวันนี้ และปีนี้ ปี 2554 ก็ล่วงเลยมานานกว่า 10 ปี ค่อยถึงบางอ้อว่า เป็นความจริง จริง จริง ที่เพื่อนชาวญี่ปุ่นบอก

    เวลา 6 ปีที่ว่านั้น แค่ระดับถ่านธรรมดา ๆ นะ

    การเผาถ่านขาว หรือ White Charcoal หรือ Bincho Tan หรือ Bincho Zumi ยากยิ่งกว่าหลายเท่า ต้องอาศัยทักษะความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก ต้องใช้เวลาฝึกฝน เรียนรู้ บากบั่นอดทนมาก ต้องเรียนอย่างไม่รู้จักจบ ไม่มีวันสมบูรณ์ 100 %

    ชาวญี่ปุ่นที่เผาถ่านขาว มีความเชื่อว่าถ่านขาวคือสิ่งที่เทพเจ้าประทานให้ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ เขาจะเคารพและบูชาเตาเผาถ่านของเขามาก จะหลบหลูดูหมิ่นไม่ได้อย่างเด็ดขาด เทพเจ้าเป็นผู้ดลบันดาลให้เราทำตามที่เทพเจ้าจะกำหนดให้ทำในขณะเผาถ่าน นี่คือความเชื่อของชาวญี่ปุ่นที่มีอาชีพเผาถ่านขาว

    เมื่อปี 2550 MR. TSUYOSHI HIROWAKA ตำแหน่ง Managing Director ของ International Charcoal Cooperative Association ( ICCA ) ประเทศญี่ปุ่น ท่านเป็นผู้ชำนาญการเผาถ่านบินโจตัน ( Binchotan ) หรือถ่านขาว ( White Charcoal ) และถ่านไม้ไผ ( Bamboo Charcoal ) ภาษาญี่ปุ่นเรียก ทาเคะสิมิ ( Takesumi ) หรือ คิคุตัน ( Kikutan ) ท่านมีความเชี่ยวชาญระดับปรมาจารย์ของประเทศญี่ปุ่นหรือของโลกเลยทีเดียว ซึ่งมีอายุมากกว่า 80 ปี ได้มาเยี่ยม ก็กล่าวยืนยันถึงความเชื่อดังกล่าวเช่นกัน

    ตอบลบ